เกณฑ์การแบ่งแยกประเภทกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
ในการแบ่งประเภทของกฎหมายว่าเป็นกฎหมายเอกชนหรือมหาชนนั้น มีหลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาอยู่ 4 หลักเกณฑ์ด้วยกัน ทั้งนี้ ในการพิจารณาจะต้องคำนึงทั้ง 4 หลักเกณฑ์นี้ควบคู่กันไป
ไม่อาจที่จะแยกคำนึงถึงหลักเกณฑ์ใดเพียงหลักเกณฑ์ได้ ดังต่อไปนี้
(1) เกณฑ์องค์กร คือ ยึดถือตัวบุคคลผู้ก่อนิติสัมพันธ์เป็นเกณฑ์ กฎหมายมหาชน
ใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ที่ก่อขึ้นระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง
กฎหมายเอกชน ใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ที่ก่อขึ้นระหว่างเอกชนด้วยกันเท่านั้น
ดังนี้ จะเห็นได้ว่ากฎหมายมหาชนนั้นกำหนดความสัมพันธ์ที่ฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐ
(ผู้ปกครอง) ซึ่งมีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง (ผู้อยู่ใต้ปกครอง) คือ
เป็นนิติสัมพันธ์ที่ผู้ก่อมีสถานะไม่เท่าเทียมกันหรือเป็นนิติสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับเรื่องการใช้อำนาจปกครองซึ่งทำขึ้นระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง
ส่วนกฎหมายเอกชนนั้น
เป็นเรื่องของผู้ก่อนิติสัมพันธ์ที่มีสถานะเหมือนกันและเท่าเทียมกัน
(2) เกณฑ์วัตถุประสงค์ คือ ยึดถือจุดประสงค์ของนิติสัมพันธ์ที่ผู้ก่อนิติสัมพันธ์ทั้ง 2 ฝ่ายทำขึ้นเป็นเกณฑ์ กฎหมายมหาชน
ใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ (public
interest) คือ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนรวมนั่นเอง
เช่น สัญญาสัมปทานที่รัฐทำกับเอกชนเพื่อจัดสาธารณูปโภคต่าง ๆ กฎหมายเอกชน
ใช้บังคับนิติสัมพันธ์ที่มุ่งถึงผลประโยชน์ของตน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง
ชื่อเสียง เกียรติยศของบุคคลนั้น ๆ เองเป็นหลัก
(3) เกณฑ์วิธีการ วิธีการที่ใช้ในการก่อนิติสัมพันธ์ของ 2 กรณีนี้
จะแตกต่างกัน โดยสิ้นเชิง กล่าวคือ กฎหมายมหาชนใช้สำหรับนิติสัมพันธ์ที่ไม่ต้องอาศัยความสมัครใจของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
(เอกชน) เลย รัฐสามารถออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตได้ และถ้ามีการฝ่าฝืน
รัฐสามารถบังคับให้เอกชนปฏิบัติตามได้ทันทีโดยไม่ต้องไปฟ้องศาล ทั้งนี้
เพราะเป็นการทำเพื่อประโยชน์สาธารณะในฐานะผู้กปกครอง เช่น ตำรวจจราจรให้สัญญาณหยุดรถ
ถ้ารถไม่หยุดเพราะไม่สมัครใจจะหยุด ตำรวจจราจรสามารถปรับคนขับรถได้
กฎหมายเอกชน
ใช้กับนิติสัมพันธ์ที่ต้องอาศัยความสมัครใจของผู้ก่อนิติสัมพันธ์ทั้ง 2 ฝ่าย เนื่องจากยึดถือหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
เพราะเป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว จึงต้องให้มีการทำสัญญากันอย่างเสรี
หากฝ่ายใดขัดขืน ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล เพราะต่างฝ่ายต่างเสมอภาคกัน
ต้องให้ศาลทำหน้าที่เป็นคนกลางเข้ามาตัดสิน
(4) เกณฑ์เนื้อหา กฎหมายมหาชน เป็นกฎเกณฑ์ที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ระบุตัวบุคคล (กฎหมายตามภาวะวิสัย) คือ
เป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ได้ทั่วไปกับบุคคลใดก็ได้ไม่เฉพาะเจาะจง
และตกลงยกเว้นไม่ปฏิบัติตามไม่ได้ ถือว่าเป็นกฎหมายบังคับ
** กฎหมายเอกชน ไม่ใช่กฎหมายบังคับ
เอกชนสามารถตกลงผูกพันกันเป็นอย่างอื่น นอกจากกฎหมายเอกชนบัญญัติไว้
(แต่ต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน) ถ้าหากเอกชนไม่ตกลงให้แตกต่างออกไป ก็จะบังคับกันตามที่กฎหมายเอกชนบัญญัติไว้ (เท่ากับว่ากฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายเสริมนั่นเอง)
ดังนี้ เมื่อเอกชนยอมใช้กฎหมายเอกชนระหว่างกัน ทำให้กฎหมายเอกชนมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์เฉพาะเรื่องที่สร้างขึ้นเพื่อใช้กับบุคคลเฉพาะรายเท่านั้น
(เป็นกฎหมายตามอัตวิสัย) เช่น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น
---------------------------------------------------------------///////////////////-------------------------------------------------------------------
ความหมายของกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
กฎหมายเอกชน คือ
กฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อกันในฐานะ “ผู้อยู่ใต้ปกครอง” ที่ต่างฝ่ายต่างก็เท่าเทียมกัน2
กฎหมายมหาชน คือ
กฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐและหน่วยงานของรัฐกับเอกชน
หรือหน่วยงานของรัฐด้วยกัน ในฐานะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็น “ผู้ปกครอง”3
---------------------------------------------------------------///////////////////-------------------------------------------------------------------
กฎหมายมหาชน หรือ PRINCIPLE OF PUBLIC LAW
กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ
หน่วยงานของรัฐ
และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปกครองบริหารประเทศและรวมถึงการบริการสาธารณะ
การใช้อำนาจตามกฎหมายของผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นรัฐ หน่วยงานของรัฐ
หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนในการปกครองของผู้ปกครองนั้น
หากผู้ปกครองหรือผู้ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่มากกว่าประชาชนโดยทั่วไป
ได้กระทำการเบี่ยงเบนในการใช้อำนาจและหน้าที่ของตนไปในทางที่ไม่ดี
จะทำให้ประชาชนภายใต้ปกครองได้รับผลกระทบที่เสียหายโดยตรงจากการเบี่ยงเบนการใช้อำนาจปกครองที่ถูกต้องของผู้ปกครองนั้น
---------------------------------------------------------------///////////////////-------------------------------------------------------------------
หลักการใช้อำนาจ
การใช้อำนาจและหน้าที่ดังกล่าวจึงต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานและหลักการที่เหมาะสม
ซึ่งเป็นที่มาของ
"หลักการใช้อำนาจหน้าที่ตามหลักกฎหมายมหาชนในการบริหารประเทศและการบริการสาธารณะของรัฐ
หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ"
มีอยู่ 3 ประการสำคัญคือ
1. กระทำเพื่อให้บรรลุผลตามประสงค์ของกฎหมายเท่านั้น การใช้อำนาจและหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ
จะต้องกระทำเพื่อให้บรรลุผลตามประสงค์ของกฎหมายเท่านั้น คือ
ผู้ที่มีอำนาจและหน้าที่ในการปกครองบริหารประเทศ
จะต้องมีกฎหมายให้อำนาจและหน้าที่ไว้ นอกจากนั้น
กฎหมายจะต้องเป็นกฎหมายที่บัญญัติโดยประชาชนหรือตัวแทนประชาชนในการให้อำนาจและหน้าที่ดังกล่าว
เพื่อนให้ผู้ปกครองใช้อำนาจตามกฎหมายนั้นในการทำหน้าที่ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
เพื่อประโยชน์และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ
2. กระทำตามความเหมาะสมและตามสมควรเท่านั้น การใช้อำนาจและหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ
จะต้องกระทำตามความเหมาะสมและตามสมควรเท่านั้น คือ
การใช้อำนาจและหน้าที่การปกครองเพื่อประโยชน์ของสาธารณะชนหรือของประชาชนโดยรวม
ทั้งนี้เนื่องจากเป็นเรื่องที่หาข้อยุติได้ยาก
เพราะเป็นเรื่องของการใช้ดุลยพินิจที่มีองค์ประกอบและเงื่อนไขหลายประการในแต่ละบุคคล
แต่ละสถานการณ์ และในแต่ละสิ่งแวดล้อม
แต่อย่างไรก็ดีการพิจารณาในเรื่องของความเหมาะสมและสมควรจึงพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจและหน้าที่นั้น
ดั่งที่กล่าวมาว่าจะต้องเป็นประโยชน์แก่ประชาชน
มีจุดมุ่งกมายเพื่อการบริการแก่สาธารณะชน
3. จะต้องไม่เป็นการสร้างภาระให้แก่ประชาชนจนเกินควร การใช้อำนาจและหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ
จะต้องไม่เป็นการสร้างภาระให้แก่ประชาชนจนเกินควร คือ
เนื่องจากการที่ผู้ปครองมีอำนาจและหน้าที่มากกว่าและเกินกว่าที่ประชาชนมี
จึงอาจทำให้สิทธิและประโยชน์บางประการของประชาชนบางส่วนต้องสูญเสียไป
หรือเรียกได้ว่าเกิดภาระขึ้น
ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่ว่าประชาชนอาจจะต้องเกิดภาระขึ้นบ้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการปกครองและบริหารประเทศของผู้ปกครอง
แต่อย่างไรก็ตามการใช้อำนาจและหน้าที่ดังกล่าวในการบริหารและปกครองประเทศจะต้องไม่มีผลกระทบและสร้างภาระแก่ประชาชนมากจนเกินควร
เพราะมิฉะนั้นจะถือได้ว่าเป็นการขัดต่อหลักการของกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ซึ่งยึดหลักในเรื่องของความสงบสุขและความเป็นธรรมของคนในสังคม
---------------------------------------------------------------///////////////////-------------------------------------------------------------------
จงอธิบายกฎหมายมหาชนเกี่ยวข้องกับตัวนักศึกษาอย่างไร
กฎหมายมหาชน คือ
กฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐและหน่วยงานของรัฐกับเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐด้วยกัน
ในฐานะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็น “ผู้ปกครอง” โดยเกี่ยวข้องกับตัวข้าพเจ้าและบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็น
"ผู้ใต้ปกครอง" คือ
- ด้านอำนาจนิติบัญญัติ เช่น การใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
การใช้สิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง
- ด้านอำนาจบริหาร เช่น
การแสดงความคิดเห็นต่อนโยบายต่างๆของรัฐ
-ด้านอำนาจตุลาการ เช่น การสู้คดี หรือ การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับศาลในเรื่องต่างๆ
-ด้านอื่นๆ เช่น กฎ ระเบียบ คำสั่งทางปกครอง
การกระทำทางปกครอง สัญญาทางปกครอง
---------------------------------------------------------------///////////////////-------------------------------------------------------------------
ข้อ 1 จงนำกฎหมายมหาชนไปอธิบายการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทยในปัจจุบันว่า การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทยในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชนอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน
ธงคำตอบ
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานทางปกครองหรือหน่วยงานของรัฐและแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในทางปกครองและการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ ในฐานะที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจเหนือผู้ใต้ปกครอง
กฎหมายมหาชน ปัจจุบันได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง
กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการวางระเบียบการปกครองของรัฐในทางการเมืองโดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตยและการดำเนินงานของสถาบันสูงสุดของรัฐที่ใช้อำนาจอธิปไตย
กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐในทางปกครองที่เรียกว่า “การจัดระเบียบราชการบริหาร” รวมทั้งการวางระเบียบเกี่ยวกับกิจกรรมของฝ่ายปกครองที่เรียกว่า “บริการสาธารณะ” ซึ่งฝ่ายปกครองจัดทำเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน
ราชการแผ่นดินของไทยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลมาจากกฎหมายปกครองดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
นอกจากนี้ยังกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงานปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการออกคำสั่งปกครอง ให้อำนาจในการออกกฎ ให้อำนาจในการกระทำทางปกครองและสัญญาทางปกครอง
“การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น” เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจปกครอง โดยให้มีการจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรขึ้นมาแยกออกจากราชการบริหารส่วนกลาง มีงบประมาณและเจ้าหน้าที่เป็นของตนเอง และมีความเป็นอิสระในการจัดทำบริการสาธารณะที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ซึ่งปัจจุบันการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นประกอบไปด้วยหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ 5 ประเภท ได้แก่
1 เทศบาล 2 องค์การบริหารส่วนตำบล 3 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 4 กรุงเทพมหานคร
5 เมืองพัทยา
และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น (รวมทั้งการบริหารราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค)
ของไทย ปัจจุบันจะเกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชนในแง่ที่ว่ากฎหมายมหาชน ซึ่งได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์และวางหลักในการจัดระเบียบการปกครองของรัฐ รวมทั้งบัญญัติสถานะอำนาจหน้าที่แก่ฝ่ายปกครองในทางปกครองและการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อสนองความต้องการของประชาชนภายในรัฐ หากไม่มีกฎหมายมหาชนบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ไว้ ฝ่ายปกครองก็จะไม่สามารถดำเนินการใดๆได้ เพราะตามหลักการของกฎหมายมหาชนแล้ว ฝ่ายปกครองจะกระทำการใดๆได้ ก็ต่อเมื่อกฎหมายบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ไว้เท่านั้น
ตัวอย่างที่ถือว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชน เช่น ในการจัดตั้งเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ก็จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายมหาชนได้กำหนดไว้ หรือเมื่อมีการจัดตั้งขึ้นมาแล้ว เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นจะมีอำนาจและหน้าที่ประการใดบ้าง ก็จะต้องมีกฎหมายมหาชน (ซึ่งในที่นี้ก็คือกฎหมายปกครองนั่นเอง) บัญญัติถึงอำนาจและหน้าที่ไว้ด้วย ทั้งนี้เพราะตามหลักกฎหมายมหาชนนั้น หน่วยราชการบริหารส่วนท้องถิ่น (รวมทั้งหน่วยราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค) จะสามารถดำเนินการใดๆได้ ก็จะต้องมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ไว้เท่านั้น
และ ในการใช้อำนาจหน้าที่ทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ ออกคำสั่งทางปกครอง รวมทั้งการกระทำทางปกครองรูปแบบอื่นหรือการทำสัญญาทางปกครอง หากเกิดกรณีพิพาทที่เป็นกรณีทางปกครอง ก็จะต้องนำคดีพิพาทนั้นไปฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้ศาลปกครองเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
-----------------------------------------------------------////////////////////////-------------------------------------------------------------------
จงนำกฎหมายมหาชนไปอธิบายการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทยปัจจุบัน
ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทยปัจจุบันเกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชนอย่างไร
พร้อมยกตัวอย่างประกอบชัดเจน
ตอบ
1. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย มี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ
1). การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป
เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วประเทศทุกจังหวัด มี 3 ประเภทได้แก่
เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
2). การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
มีการบริหารจัดการไม่เหมือนกับรูปแบบทั่วไป จะมีขึ้นเป็นกรณีๆ ไป
ส่วนใหญ่จะเป็นเขตเมืองใหญ่ เช่น เมืองหลวงหรือเมืองท่องเที่ยว
ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะใช้รูปแบบทั่วไปมาใช้ในการปกครอง
ปัจจุบันมีกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาที่เป็นประเภทนี้
2. กฎหมายมหาชน คือ
กฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐและหน่วยงานของรัฐกับเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐด้วยกัน
ในฐานะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็น “ผู้ปกครอง ซึ่ง
กฏหมายมหาชน เป็นเรื่องของอำนาจ ได้แก่
- ด้านอำนาจนิติบัญญัติ
- ด้านอำนาจบริหาร
-ด้านอำนาจตุลาการ เช่น
-ด้านอื่นๆ เช่น กฎ ระเบียบ คำสั่งทางปกครอง
การกระทำทางปกครอง และ สัญญาทางปกครอง
ส่วนที่กฎหมายปกครองเข้ามาเกี่ยวข้องกับการบริหารราชการท้องถิ่น คือ
กฎหมายมหาชนให้อำนาจหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นในการออก กฎ ระเบียบ หรือ
คำสั่งทางปกครอง หรือ การกระทำทางปกครอง หรือ สัญญาทางปกครอง
-----------------------------------------------------------------////////////////////-----------------------------------------------------------------
ข้อ 2 จงทำตามคำสั่งต่อไปนี้
ก) กฎหมายมหาชนเกี่ยวข้องกับตัวนักศึกษาอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ข) จงบอกความแตกต่างระหว่างระบบศาลเดี่ยวและระบบศาลคู่ในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐมาโดยละเอียด
ธงคำตอบ
ก) กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานทางปกครองหรือหน่วยงานของรัฐและแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในทางปกครองและการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ ในฐานะที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจเหนือผู้ใต้ปกครอง
กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐในทางปกครองที่เรียกว่า “การจัดระเบียบราชการบริหาร” รวมทั้งการวางระเบียบเกี่ยวกับกิจกรรมของฝ่ายปกครองที่เรียกว่า “บริการสาธารณะ” ซึ่งฝ่ายปกครองจัดทำเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน
นอกจากนี้ยังกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงานปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการออกคำสั่งปกครอง ให้อำนาจในการออกกฎ ให้อำนาจในการกระทำทางปกครองและสัญญาทางปกครอง
หน่วยงานปกครอง ได้แก่ หน่วยงานในราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นๆที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง รวมถึงหน่วยงานเอกชนที่ใช้อำนาจหรือได้รับสอบให้ใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย เช่น สำนักงานรังวัดเอกชน สถานที่ตรวจสภาพรถยนต์ สภาทนายความ ฯลฯ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้แก่ บุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้ใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในทางปกครองของรัฐ ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง คณะบุคคล หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง ฯลฯ
การสมัครเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองก็จะต้องดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับของทางมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งระเบียบหรือข้อบังคับของทางมหาวิทยาลัยฯนั้นถือว่าเป็น “กฎ” ที่ทางมหาวิทยาลัยฯ สามารถออกมาบังคับใช้กับนักศึกษาได้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเป็นกฎหมายปกครองและกฎหมายมหาชนนั่นเอง และถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรือกฎดังกล่าว เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยฯซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็มีอำนาจสั่งไม่รับบุคคลนั้นเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯก็ได้ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวของเจ้าหน้าที่นั้นถือว่าเป็น “คำสั่งทางปกครอง” ซึ่งเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งนั้นได้ตามกฎหมายดังกล่าว
ในการเข้ารับฟังการบรรยายของท่านอาจารย์ การบรรยายของท่านอาจารย์
(การสอน) ถือว่าเป็น “การกระทำทางปกครอง” ประเภทหนึ่งที่เรียกกันว่า “ปฏิบัติการทางปกครอง” และการบรรยายของท่านอาจารย์ดังกล่าวก็เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กฎหมายคือ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้กำหนดไว้ และคำสั่งของอธิการบดีที่สั่งให้อาจารย์แต่ละท่านบรรยายวิชาต่างๆนั้น ถือว่าเป็น “คำสั่งทางปกครอง” ซึ่งอธิการบดีมีอำนาจออกคำสั่งได้โดยอาศัยตามกฎหมายดังกล่าว
นอกจากนั้นในการสอบแต่ละวิชา การประกาศผลสอบของมหาวิทยาลัยฯหรือเมื่อนักศึกษาได้ทำการศึกษาจนจบหลักสูตร มหาวิทยาลัยฯออกปริญญาบัตรให้แก่นักศึกษา การประกาศผลสอบและการออกปริญญาบัตรให้แก่นักศึกษาดังกล่าว ก็ถือว่าเป็นการออก “คำสั่งทางปกครอง” ซึ่งเป็นการใช้อำนาจปกครองตามที่ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นกฎหมายปกครองและกฎหมายมหาชนได้กำหนดไว้นั่นเอง
ข) ในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ ในระบบศาลเดี่ยวและระบบศาลคู่ มีความแตกต่างกันดังนี้คือ
ระบบศาลเดี่ยว หมายความว่า ศาลยุติธรรมเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง โดยศาลจะนำหลักกฎหมายธรรมดา (กฎหมายเอกชน) มาปรับแก่คดี ไม่ว่าคดีนั้นจะเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน ทั้งนี้เนื่องมาจากในประเทศที่มีระบบศาลเดี่ยวนั้น จะไม่มีการแยกระหว่างกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบศาลเดี่ยวคือสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ระบบศาลคู่ หมายความว่า ระบบการควบคุมฝ่ายปกครองทางศาลที่มีศาลพิเศษแยกต่างหากจากศาลยุติธรรม กล่าวคือ เป็นระบบการควบคุมฝ่ายปกครองที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น ส่วนการวินิจฉัยขี้ขาดคดีปกครองนั้นให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง ซึ่งมีระบบศาลและระบบผู้พิพากษาแยกต่างหากจากระบบศาลยุติธรรม ตัวอย่างเช่น ประเทศฝรั่งเศส เบลเยียม สวีเดน ฟินแลนด์ ไทย เป็นต้น
--------------------------------------------------------------///////////////----------------------------------------------------------
อ 3 จงอธิบายคำศัพท์หรือกลุ่มคำต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
- การรวมอำนาจและการแบ่งอำนาจ
- การควบคุมบังคับบัญชา
- การควบคุมกำกับดูแล
- การกระจายอำนาจ
- ระบบมณฑลเทศาภิบาล
ธงคำตอบ
หลักการรวมอำนาจ คือ หลักการปกครองที่อำนาจในการตัดสินใจทั้งหลายจะอยู่ที่ส่วนกลางทั้งสิ้น จะไม่มีการมอบอำนาจการตัดสินใจบางระดับบางเรื่องไปให้แก่เจ้าหน้าที่ของส่วนกลางที่ถูกส่งออกไปประจำอยู่ในภูมิภาค และไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจตัดสินใจในระดับท้องถิ่นเลย มีการรวมกำลังในการบังคับต่างๆ เช่น กำลังทหารและกำลังตำรวจให้ขึ้นตรงต่อส่วนกลางทั้งสิ้น รวมทั้งมีลำดับขั้นการบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้รัฐบาลมั่นคง แต่มีข้อเสียคือ เกิดความล่าช้าและขาดประสิทธิภาพในการตัดสินใจในท้องถิ่นห่างไกล และการตัดสินใจย่อมทำได้ไม่ตรงกับความต้องการของท้องถิ่น เนื่องจากผู้ตัดสินใจมิใช่คนของท้องถิ่นจึงไม่อาจรู้ถึงความต้องการของคนในท้องถิ่นเท่าที่ควร
หลักการแบ่งอำนาจ คือ หลักการที่รัฐมอบอำนาจในการตัดสินใจบางประการของรัฐในส่วนกลางให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นตัวแทนองรัฐ แต่ไปปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ในแต่ละท้องที่การปกครอง โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในระบบบังคับบัญชาของการปกครองส่วนกลางอยู่ตลอดเวลา เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เป็นตัวแทนของกระทรวงมหาดไทย ศึกษาธิการจังหวัด ป่าไม้จังหวัด สรรพากรจังหวัด ฯลฯ เป็นตัวแทนของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆในส่วนกลาง เป็นต้น โดยเจ้าหน้าที่เหล่านี้ต้องรับคำสั่งจากส่วนกลางเพื่อไปปฏิบัติตามแผนและนโยบายที่ส่วนกลางได้ให้ไว้ เพียงแต่เจ้าหน้าที่เหล่านี้อาจมีอำนาจตัดสินใจในบางเรื่องบางระดับโดยไม่ต้องส่งเรื่องเข้ามาขออนุญาต อนุมัติจากส่วนกลางเพื่อความสะดวกเท่านั้นเอง
และในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย ได้นำหลักการรวมอำนาจมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางโดยแบ่งราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม ฯลฯ และนำหลักการแบ่งอำนาจมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค โดยแบ่งราชการออกเป็นจังหวัด อำเภอ รวมตลอดถึงตำบลและหมู่บ้าน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าในส่วนภูมิภาค
การควบคุมบังคับบัญชา คือ อำนาจที่หัวหน้าหน่วยงานใช้ปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เช่น การที่รัฐมนตีใช้อำนาจบังคับบัญชาเหนือเจ้าหน้าที่ทั้งหลายในกระทรวง อำนาจบังคับบัญชาเป็นอำนาจที่ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการใดๆก็ได้ตามที่ตนเห็นว่าเหมาะสม สามารถกลับ แก้ ยกเลิก เพิกถอนคำสั่ง หรือ การกระทำของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น อย่างไรก็ตาม การใช้อำนาจบังคับบัญชานี้ก็ต้องชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่ว่าจะใช้ไปในทางที่เหมาะสมแต่ขัดต่อกฎหมายได้ ซึ่งการควบคุมบังคับบัญชานี้ เป็นลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคของคนไทยนั่นเอง
การควบคุมกำกับดูแล คือ การควบคุมที่ไม่ใช่เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา แต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรควบคุมกำกับ จึงเป็นอำนาจที่มีเงื่อนไข คือ จะใช้ได้ต่อเมื่อกฎหมายให้อำนาจไว้และต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด ในการควบคุมกำกับนั้น องค์กรควบคุมกำกับไม่มีอำนาจสั่งการให้องค์กรภายใต้การควบคุมกำกับปฏิบัติตามที่ตนเห็นสมควร องค์กรภายใต้การควบคุมกำกับย่อมมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนั้นองค์กรควบคุมจึงเป็นแต่ควบคุมกำกับให้องค์กรภายใต้การควบคุมกำกับปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ซึ่งการควบคุมกำหับดูแลนี้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับส่วนท้องถิ่นของไทยนั่นเอง
หลักการกระจายอำนาจ เป็นวิธีการที่รัฐมอบอำนาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรอื่นนอกจากองค์กรของส่วนกลาง ซึ่งองค์กรเหล่านี้มีฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง และสามารถดำเนินการบริการสาธารณะได้โดยอิสระ มีงบประมาณและเจ้าหน้าที่ของตนเอง มีความเป็นอิสระในการจัดทำบริการสาธารณะที่ได้รับมอบหมาย โดยไม่ต้องขอรับคำสั่งจากส่วนกลาง ส่วนกลางเพียงแต่คอยกำกับดูแลให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยถูกต้องเท่านั้น มิได้เข้าไปบังคับบัญชาหรืออำนวยการเอง
และประเทศไทยได้นำหลักการกระจายอำนาจมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
ระบบมณฑลเทศาภิบาล คือ ระบบแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยราชการบริหารอันประกอบด้วย
ตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นที่
ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลซึ่งประจำอยู่แต่เฉพาะในราชธานี (ส่วนกลาง) นั้นออกไปดำเนินการ (ไปทำหน้าที่แทนรัฐบาลกลาง) ในส่วนภูมิภาคของประเทศซึ่งอยู่ห่างไกลจากรัฐบาลซึ่งอยู่ในราชธานีให้ได้ใกล้ชิดกับอาณาประชากร เพื่อให้เขาได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและเกิดความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ จึงแบ่งเขตปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นชั้นอันดับดังนี้คือ ใหญ่ที่สุดเป็นมณฑล รองถัดลงไปเป็นเมือง (หรือจังหวัด) รองไปอีกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน มีการจัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทำนองการของกระทรวง ทบวง กรม ในราชธานี และจัดสรรข้าราชการที่มีความรู้สติปัญญา ความประพฤติดี ให้ไปประจำทำงานตามตำแหน่งหน้าที่ มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่เป็นมาแต่ก่อน โดยมีการกำหนดข้าราชการผู้รับผิดชอบ ดังนี้คือ
(1) มณฑล ให้ข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้รับผิดชอบ
(2) เมือง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ
(3) อำเภอ ให้นายอำเภอเป็นผู้รับผิดชอบ
(4) ตำบล ให้กำนันเป็นผู้รับผิดชอบ
(5) หมู่บ้าน ให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ
-------------------------------------------------------/***********************--------------------------------------------------------
ข้อ 1 จงอธิบายความสัมพันธ์ของการควบคุมบังคับบัญชากับการกำกับดูแลว่ามีความเกี่ยวข้องอย่างไรต่อการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย
ธงคำตอบ
ความสัมพันธ์ของการควบคุมบังคับบัญชา กับการกำกับดูแลมีความเกี่ยวข้องต่อการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย ดังนี้คือ
การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
ราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย กระทรวง ทบวง กรม เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการในรูปแบบการรวมอำนาจ โดยการปกครองแบบนี้อำนาจในการตัดสินใจทั้งหลายจะอยู่ที่ส่วนกลางทั้งสิ้น มีการรวมกำลังในการบังคับต่างๆ ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง และมีลำดับขั้นการบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจน
ราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการในรูปแบบการแบ่งอำนาจ ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองที่ส่วนกลางมอบอำนาจตัดสินใจบางประการให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนภูมิภาค โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในบังคับบัญชาของส่วนกลางตลอดเวลา
ราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย อบจ. อบต. เทศบาล พัทยา และกรุงเทพมหานคร เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการในรูปแบบการกระจายอำนาจ โดยรัฐจะมอบอำนาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรอื่นที่ไม่ใช่องค์กรส่วนกลาง หรือส่วนภูมิภาค เพื่อจัดทำบริการสาธารณะบางอย่าง โดยจะมีอิสระตามสมควรไม่ต้องขึ้นอยู่ในการบังคับบัญชาของส่วนกลาง เพียงแต่ขึ้นอยู่ในการกำกับดูแลเท่านั้น
การควบคุมบังคับบัญชา คือ อำนาจที่หัวหน้าหน่วยงานใช้ปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เช่น การที่รัฐมนตีใช้อำนาจบังคับบัญชาเหนือเจ้าหน้าที่ทั้งหลายในกระทรวง อำนาจบังคับบัญชาเป็นอำนาจที่ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการใดๆก็ได้ตามที่ตนเห็นว่าเหมาะสม สามารถกลับ แก้ ยกเลิก เพิกถอนคำสั่ง หรือ การกระทำของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น อย่างไรก็ตาม การใช้อำนาจบังคับบัญชานี้ก็ต้องชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่ว่าจะใช้ไปในทางที่เหมาะสมแต่ขัดต่อกฎหมายได้ ซึ่งการควบคุมบังคับบัญชานี้ เป็นลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคของคนไทยนั่นเอง
การควบคุมกำกับดูแล คือ การควบคุมที่ไม่ใช่เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา แต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรควบคุมกำกับ จึงเป็นอำนาจที่มีเงื่อนไข คือ จะใช้ได้ต่อเมื่อกฎหมายให้อำนาจไว้และต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด ในการควบคุมกำกับนั้น องค์กรควบคุมกำกับไม่มีอำนาจสั่งการให้องค์กรภายใต้การควบคุมกำกับปฏิบัติตามที่ตนเห็นสมควร องค์กรภายใต้การควบคุมกำกับย่อมมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนั้นองค์กรควบคุมจึงเป็นแต่ควบคุมกำกับให้องค์กรภายใต้การควบคุมกำกับปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ซึ่งการควบคุมกำหับดูแลนี้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับส่วนท้องถิ่นของไทยนั่นเอง
---------------------------------------------------------////////////////////////////---------------------------------------------------
ข้อ 2 การควบคุมการใช้อำนาจรัฐ คือ การควบคุมสิ่งใด และที่ว่าดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หมายถึงอะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ธงคำตอบ
การควบคุมการใช้อำนาจรัฐ หมายถึง การควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรของรัฐ หน่วยงานของรัฐนั่นเอง ซึ่งการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีได้ 2 รูปแบบ คือ
1. อำนาจผูกพัน คือ อำนาจหน้าที่ที่องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐต้องปฏิบัติเมื่อมีข้อเท็จ
จริงอย่างใด ๆ เกิดขึ้นตามที่กฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ
ได้บัญญัติกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังนี้ องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐจะต้องออกคำสั่ง
และคำสั่งนั้นต้องมีเนื้อความเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น
เรื่องการร้องขอจดทะเบียนสมรสเมื่อชายและหญิงผู้ร้องขอมีคุณสมบัติครบถ้วน
และปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการสมรสที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์แล้ว
นายทะเบียนครอบครัวจะต้องทำการจดทะเบียนสมรสให้แก่ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนสมรส เสมอ
เป็นต้น
2. อำนาจดุลพินิจ อำนาจดุลพินิจแตกต่างกับอำนาจผูกพันข้างต้น กล่าวคือ อำนาจดุลพินิจเป็นอำนาจที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติ หรือองค์กรฝ่ายปกครองของรัฐสามารถเลือกตัดสินใจออกคำสั่งหรือสั่งการใดๆ ได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ เพื่อให้บรรลุผลตามความมุ่งหมาย หรือเจตนารมณ์ของกฎหมาย กล่าวอีกอย่างหนึ่ง อำนาจดุลพินิจ ก็คือ อำนาจที่กฎหมายเปิดช่องให้องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐมีอิสระในการตัดสินใจเมื่อมีเหตุการณ์หรีอมีข้อเท็จจริงใด ๆ กำหนดไว้เกิดขึ้น
2. อำนาจดุลพินิจ อำนาจดุลพินิจแตกต่างกับอำนาจผูกพันข้างต้น กล่าวคือ อำนาจดุลพินิจเป็นอำนาจที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติ หรือองค์กรฝ่ายปกครองของรัฐสามารถเลือกตัดสินใจออกคำสั่งหรือสั่งการใดๆ ได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ เพื่อให้บรรลุผลตามความมุ่งหมาย หรือเจตนารมณ์ของกฎหมาย กล่าวอีกอย่างหนึ่ง อำนาจดุลพินิจ ก็คือ อำนาจที่กฎหมายเปิดช่องให้องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐมีอิสระในการตัดสินใจเมื่อมีเหตุการณ์หรีอมีข้อเท็จจริงใด ๆ กำหนดไว้เกิดขึ้น
เหตุที่ต้องมีการควบคุมการใช้อำนาจรัฐดังกล่าวก็เพราะกฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ไม่เสมอภาค รัฐ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอำนาจเหนือประชาชนหากไม่มีการควบคุม เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐอาจใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
การใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ การที่เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรของรัฐ หน่วยงานของรัฐ กระทำการหรืองดเว้นกระทำการใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย หรือใช้อำนาจนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน ตัวอย่างเช่น
(1) กระทำการข้ามขั้นตอน เช่น ในกรณีกฎหมายบัญญัติให้ก่อนที่รัฐบาลจะดำเนินการเรื่องสำคัญๆ จะต้องถามความเห็นประชาชนก่อน แต่รัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร ดำเนินการต่างๆโดยไม่ถามความเห็นของประชาชนก่อน ซึ่งไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้โต้แย้ง ถือว่าเป็นการข้ามขั้นตอน เพราะการนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชน ทำให้ประชาชนเดือดร้อน
(2) กระทำการโดยปราศจากอำนาจ เช่น กฎหมายไม่ได้กำหนดหรือมอบอำนาจและหน้าที่ในการอนุมัติ อนุญาตให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ แต่เจ้าพนักงานธุรการผู้นั้นไปดำเนินการอนุมัติ หรืออนุญาตแทนปลัดอำเภอโดยไม่มีอำนาจ
(3) กระทำการผิดแบบ เช่น การออกคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐบางกรณีกฎหมายบัญญัติให้ออกเป็นหนังสือ แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐกลับไปออกคำสั่งด้วยวาจา ย่อมเป็นการทำผิดแบบที่กฎหมายกำหนด (4) กระทำการนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมาย เช่น การที่ผู้บังคับบัญชานำเรื่องการย้ายการโอนมาเป็นการลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นการผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมาย เพราะเรื่องการย้ายการโอนข้าราชการสร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ต่อตัวข้าราชการเอง มิใช่สร้างขึ้นมาเพื่อลงโทษแก่ตัวราชการผู้นั้น
(5) กระทำการโดยการสร้างภาระให้ประชาชน เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐไปสร้างภาระด้านค่าใช้จ่ายหรือไปกำหนดให้ประชาชนกระทำการใดๆ เพื่อเติมโดยไม่มีความจำเป็น
(6) กระทำการโดยมีอคติหรือไม่สุจริต เช่น กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการสั่งปิดโรงงานที่ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำลำคลองได้เพียง 1 เดือน แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐกลับสั่งปิดโรงงานดังกล่าวถึง 2 เดือน เพราะเคยมีปัญหาส่วนตัวกันมาก่อน ย่อมเป็นการใช้อำนาจโดยมีอคติ
และการควบคุมการใช้อำนาจรัฐนั้น แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
1 การควบคุมแบบป้องกัน หมายถึง ก่อนที่ฝ่ายบริหารจะได้วินิจฉัยสั่งการหรือก่อนจะมีการกระทำในทางปกครอง ที่จะไปกระทบต่อสถานภาพทางกฎหมายของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะมีระบบป้องกันเสียก่อน กล่าวคือ มีกฎหมายกำหนดกระบวนการ หรือขั้นตอนต่างๆก่อนที่จะมีคำสั่งออกไป
การควบคุมแบบป้องกัน จึงเป็นวิธีการที่ช่วยเสริมการควบคุมโดยทางศาล เพราะฝ่ายปกครองจะต้องระมัดระวังในขั้นตอนการพิจารณาออกคำสั่ง ทำให้การกระทำของฝ่ายปกครองมีความโปร่งใสและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังลดคดีที่จะมีไปสู่ศาลอีกทางหนึ่งด้วย
2 การควบคุมแบบแก้ไข หรือการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจทางปกครอง หลังการใช้อำนาจทางปกครองไปแล้ว และเกิดปัญหาจากการใช้อำนาจทางการปกครองนั้นขึ้น จึงต้องแก้ไขปัญหาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้
วิธีการควบคุมการใช้อำนาจรัฐที่ดีที่สุด คือ การควบคุมแบบแก้ไข (ภายหลัง) ที่เรียกว่าใช้ระบบตุลาการ (ศาลคู่) นั่นคือ ศาลปกครอง เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะมีระบบการพิจารณาที่ใช้ศาล และมีกฎหมายรองรับทำให้การพิจารณาพิพากษาเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างยิ่ง อาทิเช่น กฎหมายจัดตั้งและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 กฎหมายว่าด้วยความรับผิดในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ.2539
-------------------------------------------------------------////////////////////////////--------------------------------------------------
ข้อ 3 กฎหมายมหาชนคืออะไร มีความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น เช่น รัฐศาสตร์อย่างไร จงอธิบาย
ธงคำตอบ
ความหมายของกฎหมายมหาชนนั้น มีผู้ให้คำนิยามไว้หลากหลาย ทั้งนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศ รวมทั้งนักกฎหมายของไทย แต่โดยนัยแห่งความหมายแล้วมีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่กล่าวกำหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายเกี่ยวข้องกับ สถานะและอำนาจ ของรัฐและ ผู้ปกครอง รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและ ผู้ปกครองกับพลเมือง ผู้อยู่ใต้ปกครองในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมืองซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน
จากความหมายของกฎหมายมหาชนที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะว่าในเรื่องของการปฏิรูปการเมืองการปกครอง การปฏิรูปทุกๆด้านในประเทศไทยของเราในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ใช้อำนาจของรัฐเข้าไปจัดการแก้ไข ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเรื่องต่างๆเหล่านี้ให้ดีขึ้น ประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมืองของรัฐ จะต้องอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของรัฐ ซึ่งรัฐที่ปกครองด้วยระบบเสรีนิยมประชาธิปไตยนั้น จะต้องมีหลักการปกครองที่ยึดหลักการปกครองโดยกฎหมายหรือว่าหลักนิติรัฐ ดังนั้น กฎหมายมหาชนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประชาชน เพราะว่าเรื่องของกฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐ ซึ่งเป็นไปในลักษณะที่รัฐมีอำนาจเหนือราษฎร เพราะฉะนั้นประชาชนจึงเกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชนด้วย เพราะประชาชนจะอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐนั่นเอง
กล่าวโดยสรุป
กฎหมายมหาชนนั้น จะต้องเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงสถานะและอำนาจของรัฐ
กฎหมายมหาชนนั้น จะต้องเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมือง
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมืองนั้น จะมีลักษณะที่รัฐมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมือง ซึ่งเป็นเอกชนและอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐ
ส่วนรัฐศาสตร์นั้น คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของรัฐ อำนาจ และการปกครอง รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรัฐ กำเนิด และวิวัฒนาการของรัฐ รัฐในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และยังศึกษาถึงองค์การทางการเมือง สถาบันทางการปกครอง ตลอดจนอำนาจในการปกครองรัฐ วิธีการดำเนินการต่างๆของรัฐ รวมทั้งแนวความคิดทางการปกครองและทางการเมืองในรัฐด้วย
จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวกับรัฐโดยทั่วไป แต่โดยที่รัฐบัญญัติกฎหมาย และกฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่จะนำไปใช้รักษาความสงบเรียบร้อยภายในรัฐ ทำนุบำรุงให้ราษฎรมีความสุข ดังนั้น
กฎหมายมหาชนและรัฐศาสตร์จึงเป็นศาสตร์สองศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก เพราะกฎหมายมหาชนจะศึกษาเรื่องรัฐ อำนาจรัฐ รัฐธรรมนูญ และศึกษาสถาบันการเมืองของรัฐ มีเนื้อหาเน้นการศึกษาทางทฤษฎี แนวความคิดในเรื่องรัฐอยู่มาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกฎหมายกับรัฐศาสตร์เป็นอย่างดี เห็นได้จากการศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญ และการศึกษาเกี่ยวกับสถาบันการเมืองของรัฐก็ต้องเกี่ยวข้องกับรัฐศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายมหาชนยังต้องศึกษาในด้านนิติศาสตร์อยู่อีกมาก ศึกษาบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่เป็นการศึกษาทางรัฐศาสตร์ล้วนๆ
------------------------------------------------------/////////////////--------------------------------------------------------------------
ข้อ 2 จงทำตามคำสั่งต่อไปนี้
ก) กฎหมายมหาชนเกี่ยวข้องกับตัวนักศึกษาอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ข) จงบอกความแตกต่างระหว่างระบบศาลเดี่ยวและระบบศาลคู่ในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐมาโดยละเอียด
ธงคำตอบ
ก) กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานทางปกครองหรือหน่วยงานของรัฐและแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในทางปกครองและการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ ในฐานะที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจเหนือผู้ใต้ปกครอง
กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐในทางปกครองที่เรียกว่า “การจัดระเบียบราชการบริหาร” รวมทั้งการวางระเบียบเกี่ยวกับกิจกรรมของฝ่ายปกครองที่เรียกว่า “บริการสาธารณะ” ซึ่งฝ่ายปกครองจัดทำเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน
นอกจากนี้ยังกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงานปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการออกคำสั่งปกครอง ให้อำนาจในการออกกฎ ให้อำนาจในการกระทำทางปกครองและสัญญาทางปกครอง
หน่วยงานปกครอง ได้แก่ หน่วยงานในราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นๆที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง รวมถึงหน่วยงานเอกชนที่ใช้อำนาจหรือได้รับสอบให้ใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย เช่น สำนักงานรังวัดเอกชน สถานที่ตรวจสภาพรถยนต์ สภาทนายความ ฯลฯ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้แก่ บุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้ใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในทางปกครองของรัฐ ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง คณะบุคคล หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง ฯลฯ
การสมัครเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองก็จะต้องดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับของทางมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งระเบียบหรือข้อบังคับของทางมหาวิทยาลัยฯนั้นถือว่าเป็น “กฎ” ที่ทางมหาวิทยาลัยฯ สามารถออกมาบังคับใช้กับนักศึกษาได้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเป็นกฎหมายปกครองและกฎหมายมหาชนนั่นเอง และถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรือกฎดังกล่าว เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยฯซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็มีอำนาจสั่งไม่รับบุคคลนั้นเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯก็ได้ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวของเจ้าหน้าที่นั้นถือว่าเป็น “คำสั่งทางปกครอง” ซึ่งเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งนั้นได้ตามกฎหมายดังกล่าว
ในการเข้ารับฟังการบรรยายของท่านอาจารย์ การบรรยายของท่านอาจารย์
(การสอน) ถือว่าเป็น “การกระทำทางปกครอง” ประเภทหนึ่งที่เรียกกันว่า “ปฏิบัติการทางปกครอง” และการบรรยายของท่านอาจารย์ดังกล่าวก็เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กฎหมายคือ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้กำหนดไว้ และคำสั่งของอธิการบดีที่สั่งให้อาจารย์แต่ละท่านบรรยายวิชาต่างๆนั้น ถือว่าเป็น “คำสั่งทางปกครอง” ซึ่งอธิการบดีมีอำนาจออกคำสั่งได้โดยอาศัยตามกฎหมายดังกล่าว
นอกจากนั้นในการสอบแต่ละวิชา การประกาศผลสอบของมหาวิทยาลัยฯหรือเมื่อนักศึกษาได้ทำการศึกษาจนจบหลักสูตร มหาวิทยาลัยฯออกปริญญาบัตรให้แก่นักศึกษา การประกาศผลสอบและการออกปริญญาบัตรให้แก่นักศึกษาดังกล่าว ก็ถือว่าเป็นการออก “คำสั่งทางปกครอง” ซึ่งเป็นการใช้อำนาจปกครองตามที่ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นกฎหมายปกครองและกฎหมายมหาชนได้กำหนดไว้นั่นเอง
ข) ในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ ในระบบศาลเดี่ยวและระบบศาลคู่ มีความแตกต่างกันดังนี้คือ
ระบบศาลเดี่ยว หมายความว่า ศาลยุติธรรมเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง โดยศาลจะนำหลักกฎหมายธรรมดา (กฎหมายเอกชน) มาปรับแก่คดี ไม่ว่าคดีนั้นจะเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน ทั้งนี้เนื่องมาจากในประเทศที่มีระบบศาลเดี่ยวนั้น จะไม่มีการแยกระหว่างกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบศาลเดี่ยวคือสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ระบบศาลคู่ หมายความว่า ระบบการควบคุมฝ่ายปกครองทางศาลที่มีศาลพิเศษแยกต่างหากจากศาลยุติธรรม กล่าวคือ เป็นระบบการควบคุมฝ่ายปกครองที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น ส่วนการวินิจฉัยขี้ขาดคดีปกครองนั้นให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง ซึ่งมีระบบศาลและระบบผู้พิพากษาแยกต่างหากจากระบบศาลยุติธรรม ตัวอย่างเช่น ประเทศฝรั่งเศส เบลเยียม สวีเดน ฟินแลนด์ ไทย เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น