วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

POL3302 การวางแผนในภาครัฐ

POL3302
การวางแผนในภาครัฐ วันที่ 8 มิถุนายน 2557

จงแสดงความรู้โดยการเขียนคำตอบให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เขียนคำตอบน้อยได้คะแนนน้อย

การนำโครงการสู่การปฏิบัติคืออะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ…..การนำโครงการสู่การปฏิบัติ คือ กระบวนการในทางปฏิบัติที่จะทำให้ โครงการใดๆ บรรลุวัตถุประสงค์ตามกำหนดไว้  เพราะฉะนั้นหากกระบวนการเป็นการนำโครงการไปปฏิบัติ ไม่สามารถกระทำได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม โครงการนั้นก็ไร้ประโยชน์ทันที
     การนำโครงการไปปฏิบัติ เป็นการทำให้เกิดผลลัพธ์ของโครงการขึ้น ๙งการนำโครงการไปปฏิบัติจะมีผู้เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย โครงการที่ขยาย จะมีขนาดใหญ่ ต้องอาศัยการร่วมมือระหว่างหน่วยงานหลายระดับ และมีปัจจัยมากมายที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งจะสำเร็จ หรือล้มเหลว ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังกล่าว
     ปัจจัยที่ทำให้การนำโครงการไปปฏิบัติเกิดความสำเร็จ หรือเกิดความล้มเหลว
1. ลักษณะของโครงการ
1.1. ไปเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขมากเกินไป
1.2. การเห็นผลได้ชัดเจน
1.3. มีข้อมูลที่ยืนยันได้
     ลักษณะดังกล่าว ทำให้โครงการประสบผลสำเร็จมากกว่านโยบายที่มีลักษณะตรงกันข้าม
2. ลักษณะวัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1. ความชัดเจนของวัตถุประสงค์
2.2. ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์
2.3. ความยากง่ายในการรับรู้วัตถุประสงค์
     ลักษณะดังกล่าว ของวัตถุประสงค์ของโครงการจะต้องชัดเจน สอดคล้องกัน และเข้าใจง่าย
3. ความเป็นไปได้ทางการเมือง
3.1. ความเห็นพ้องต้องกันระหว่างรัฐกับเอกชน
3.2. ความสนับสนุนจากประชาชน
     ลักษณะดังกล่าว โครงการจะต้องได้รับการยอมรับจากประชาชน ถึงจะได้รับความสำเร็จ

4. ความถูกต้องทางเทคนิค หรือทฤษฏีของโครงการ นโยบายที่ใช้เทคนิคที่เหมาะสม หรือ ทฤษฏีที่น่าเชื่อถือได้ เป็นแรงสนับสนุนให้โครงการมีความสำเร็จดียิ่งขึ้น
5. การมีทรัพยากรที่พอเพียง ทรัพยากรเป็นปัจจัยที่สำคัญ ความพอเพียงซึ่งทางด้านปริมาณและคุณภาพของทรัพยากร จะเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการนำโครงการไปปฏิบัติ
6. ลักษณะของหน่วยงานที่นำโครงการไปปฏิบัติ
6.1. การจัดองค์การของหน่วยงาน ที่ไม่มีความซับซ้อน สามารถที่จะทำงานได้รวดเร็ว
6.2. ความสามารถของผู้นำ ผู้นำมรความเข้มแข็งที่จะผลักดันการทำงาน สามารถระดมหน่วยงานได้มาก ก็สามารถที่จะนำโครงการไปปฏิบัติได้สำเร็จ
7. ทัศนคติของผู้นำโครงการไปปฏิบัติ ผู้นำที่ไม่มีผลประโยชน์ นำทางออกและทางจบกับนโยบายไปปฏิบัติได้ดีกว่า ผู้นำที่มีผลประโยชน์กับนโยบาย
8. ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกต่างๆ ที่ร่วมกันนำโครงการไปปฏิบัติ การนำโครงการไปปฏิบัตินั้น มีหน่วยงานหลายหน่วยงาน และมีตัวแทนต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง และประสานไปด้วยกัน ดังนั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติ ต้องมีความพิถีพิถันอย่างมาก เช่น จุดตัดสินใจเล็กๆน้อยๆ ความต้องการเดิมของหน่วยงาน รวมถึงการแทรกแซงของผู้มีอำนาจ ซึ่งจุดเล็กๆเหล่นนี้ สามารถทำให้การนำโครงการไปปฏิบัติล้มเหลวได้ หรือ ตรงกันข้ามอาจสำเร็จด้วยดีก็ได้เป็นต้น
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การวางแผนเป็นทีม (Team Planning) คืออะไร ขั้นตอนในการวางแผนเป็นทีมมีอย่างไรบ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบชัดเจน

ตอบ.....การวางแผนเป็นทีม (Team Planning)นั้น ในกระบวนการวางแผนในแนวทางทฤษฎีกระบวนการดังกล่าว ยังมีหลักการวางแผนอีกแนวหนึ่ง ซึ่งได้รับความนิยม ได้แก่ การวางแผนเป็นทีม (Team Planning) หรือ TP เป็นกระบวนการประชุมเพื่อการวางแผนในรูปแบบของการทำงานแบบมรส่วนร่วมสำหรับผู้บริหารทุกระดับ เพื่อให้ทุกคนร่วมกันคิดสร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆ เพื่อกลั่นกรองความตั้งใจจริง และความเสียสละของผู้ร่วมประชุมทุกคนมาใช้เพื่อจัดทำแผน โครงการ แผนปฏิบัติการเพื่อเอาชนะอุปสรรค สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาในหน่วยงานก่อนที่ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนจะลงมือปฏิบัติเพื่อผลสำเร็จขิงงาน
     กระบวนการของ Team Planningหรือ TP แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ของหน่วยงานให้ชัดเจนตรงกัน
ขั้นตอนที่ 2 ร่วมกันกำหนดระบบในอนาคต หรือ ที่ต้องโดยคิดล่วงหน้า
ขั้นตอนที่ 3 ร่วมกันหาอุปสรรค ที่จะทำให้ไปได้ถึงภาพที่ต้องการ มีอุปสรรคอะไรมาขวางกั้นบ้าง
ขั้นตอนที่ 4 ร่วมกันกำหนดแผนงาน หรือ กลยุทธ์ ที่ต้องใช้ใน 3-5 ปี ข้างหน้าเพื่อทำลายอุปสรรคขวางกั้น
ขั้นตอนที่ 5 ร่วมกันกำหนดโครงการ หรือ กลวิธี ที่ต้องใช้ดำเนินการใน 1 ปี โดยให้สอดคล้องกับแผนที่วางไว้
ขั้นตอนที่ 6 ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติ ของโครงการ ต่อจากขั้นตอนที่ 5 โดยเน้นให้เกิดผลภายใน 90 วัน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จงอธิบายความหมาย นโยบายสาธารณะและจริงหรือไม่ที่มีผู้กล่าวว่า แผน (Plan) และโครงการ (Program) คือนโยบายสาธารณะ อธิบายมาให้เข้าใจ

ตอบ…..นโยบายสาธารณะ หมายความว่า  แนวทางหรือกิจกรรมต่างๆ ที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐตัดสินใจว่าจะกระทำ ภายใต้อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ โดยกำหนดเป็นหลักการ มาตรการ แผนงานหรือโครงการ เพื่อประโยชน์แก่สังคมและส่วนรวมต่อไป
     ลักษณะทั่วไปของนโยบายสาธารณะที่ดี
นโยบายสาธารณะที่ดีนั้น ควรมีลักษณะดังนี้
1. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์แก่สังคมและส่วนรวม
2. มีแผนงานรองรับ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
3. ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขด้านเวลาและสถานที่ คือ นโยบายต้องสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และต้องสอดรับกับปัญหาหรือความต้องการของประชาชนด้วย
4. ต้องเป็นข้อความที่เข้าใจได้ง่าย เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามได้
5. ต้องตอบสนองต่อผลประโยชน์สูงสุดของชาติเป็นส่วนรวม
     รูปร่างของนโยบาย
     นโยบายสาธารณะมีหลายรูปร่างและหลายลักษณะตามการใช้ประโยชน์ของนโยบาย ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
1. กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้องบังคับ หรือคำสั่ง คือ เป็นนโยบายที่มีลักษณะบังคับให้ต้องปฏิบัติตาม ได้แก่ กฎหมายต่างๆ ของรัฐ เป็นต้น
2. แผนงาน หรือโครงการ คือ เป็นนโยบายที่มีลักษณะเป็นข้อเสนอแนะ และเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานขององค์การ และไม่มีลักษณะบังคับให้ทุกคนต้องปฏิบัติตาม
3. ประกาศ หรือแจ้งความ คือ มีลักษณะเพื่อแจ้งข่าวสาร เชิญชวน และมีลักษณะบังคับน้อยที่สุด เช่น นโยบายเชิญชวนเฉลิมฉลองในวาระโอกาสที่สำคัญๆเป็นต้น
4. สัญญา คือ เป็นนโยบายที่รัฐให้สัญญากับสังคม เช่น การแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา เป็นต้น
5. รูปแบบอื่นๆ คือ นโยบายอาจไม่มีรูปร่างให้เห็นชัดเจน เช่น  มติคณะรัฐมนตรีคำแถลงการณ์ของผู้บริหาร ของรัฐมนตรีหรือของนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ มิใช่ในฐานะส่วนตัว ก็ถือเป็นนโยบายได้เช่นกัน แม้ไม่มีรูปร่างเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม
     ผู้กำหนดนโยบายสาธารณะ
เนื่องจากนโยบายสาธารณะเป็นเรื่องในระดับองค์การ ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายจึงต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
1. เป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์การ เท่านั้น
2. เป็นเรื่องที่อยู่ในหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง
3. เป็นการกระทำในนามขององค์การมิใช่ในฐานะส่วนตัว
นอกจากนี้ ผู้กำหนดนโยบายยังอาจแบ่งได้ เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ผู้กำหนดนโยบายสาธารณะอย่างเป็นทางการ ได้แก่ รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี และรัฐสภา เป็นต้น
2. ผู้กำหนดนโยบายสาธารณะอย่างไม่เป็นทางการ ได้แก่ พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มนักวิชาการ สื่อมวลชน เป็นต้น
การศึกษานโยบายสาธารณะ
     การที่มีการนำนโยบายสาธารณะมาศึกษานั้น จุดประสงค์สำคัญก็คือการทำความเข้าใจเหตุและผลของการกำหนดนโยบาย เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำนโยบายมาใช้ให้บรรลุเป้าหมาย ในการศึกษานโยบายสาธารณะไว้ 3 ประการ คือ
1. เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ คือ การทำความเข้าใจเหตุและผลของการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย โดยพิจารณานโยบายสาธารณะว่าเป็นตัวแปรตามซึ่งได้รับผลกระทบจากสังคม หรือ เป็นตัวแปรอิสระซึ่งมรผลต่อสังคมก็ได้
2. เหตุผลเชิงวิชาชีพ คือ การนำไปใช้แก้ปัญหาในทางปฏิบัติ
3. เหตุทางการเมือง คือ การดัดแปลงนโยบายที่ถูกต้องเหมาะสมทางการเมืองมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ถูกต้องทางการเมือง
     ข้อสังเกต การศึกษานโยบายสาธารณะมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ คือ ต้องอาศัยความรู้จากหลายสาขามาประยุกต์ เช่น รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ปรัชญา สถิติ เป็นต้น
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

   ***  จริงหรือไม่ที่มีผู้กล่าวว่า แผน (Plan) และโครงการ (Program) คือนโยบายสาธารณะ อธิบายมาให้เข้าใจ
แผน (Plan) คือ เป็นผลผลิตของการวางแผน เมื่อผู้วางแผนทำการเก็บข้อมูลวิเคราะห์แล้วก็เขียนเป็นแผนขึ้นมา ประโยชน์ของแผนก็คือ ช่วยในการทำงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ มีขอบเขตที่แคบกว่านโยบาย ประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นรูปเป็นร่างมากกว่านโยบาย แต่ยังไม่สามารถปฏิบัติตามได้

โครงการ (Program) คือ มีขอบเขตแคบที่สุด ประกอบด้วยข้อมูลที่ละเอียดครบถ้วนและสามารถปฏิบัติตามได้เลย มีการเจาะจงเกี่ยวกับวัน เวลา สถานที่และวิธีดำเนินการที่ชัดเจน
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ****  ให้เข้าใจกันว่า นโยบายสาธารณะ คือ แนวความคิดของผู้บริหารที่จะต้องสร้างนโยบายสาธารณะขึ้นมา โดยจะต้องให้นักวางแผนเขียนแผนขึ้นมา ซึ่งในแผนนั้นจะต้องประกอบไปด้วยโครงการต่างๆมากมาย ที่กำหนดไว้
ให้นักศึกษาเลือกโครงการที่ปรากฏอยู่จริงที่นักศึกษาพบเห็นและเป็นโครงการที่เกิดขึ้นจริง เช่น โครงการที่เกิดขึ้นในกระทรวง กรม จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เอกชน หรือที่ใดก็ได้และให้สรุปโครงการสั้นๆ พอเข้าใจหลักการของโครงการ
     ให้นักศึกษานำความรู้ที่มีจากการศึกษาโครงการมาวิเคราะห์ ว่าเป็นไปตามหลักการ กระบวนการ หรือลักษณะของโครงการถูกต้องหรือไม่ จงอธิบาย ถ้าเป็นโครงการที่ไม่ถูกต้องให้อธิบายให้ชัดเจนว่าไม่ถูกต้องตรงที่ใด และจะได้แก้ไขให้ถูกต้องได้อย่างไร
ตอบ.....
โครงการป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณ ถนนท่าโพธิ์ตก ตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
1. หลักการและเหตุผล
     ปัจจุบันเป็นหน้าฝน และหน้าน้ำท่วม ได้มีการท่วมขังของน้ำบริเวณถนนท่าโพธิ์ตกภายหลังฝนตก จัดได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ควรรีบเร่งดำเนินการแก้ไขด่วน เนื่องจากปัญหาดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่สันจรไปมา ทั้งยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมาก เช่น โรคระบาดจากน้ำท่วม เป็นต้น ทำให้ต้องเสียเวลา ค่าใช้จ่าย และสุขภาพอนามัย และความเสียหายต่อบ้านเรือนที่อยู่ในละแวกนี้ ระดับน้ำสูงประมาณ 2-3  เมตร เพื่อความคลี่คลายปัญหาดังกล่าว จึงควรให้มีการดำเนินโครงการป้องกันน้ำท่วมในบริเวณดังกล่าวขึ้น
2. วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมและน้ำท่วมขังภายหลังฝนตก
2. เพื่อลดปัญหาการความเสียหายของประชาชน
3. เพื่อป้องกันโรคระบาดของโรคที่เกิดจากภาวะน้ำท่วม เช่น ไข้เลือดออก โรคฉี่หนู เป็นต้น
3. เป้าหมายในการดำเนินโครงการ
โครงการป้องกันน้ำท่วม ถนนสายท่าโพธิ์ตก จะดำเนินการบริเวณต่อไปนี้
1. ปากทางเข้าท่าโพธิ์ตก
2. ท่าโพธิ์ซอย 1
3. ท่าโพธิ์ซอย 2
4. ท่าโพธิ์ซอย 3
5. ท่าโพธิ์ซอย 4
4. วิธีการดำเนินงาน
1. ปรับปรับท่อระบายน้ำ เพื่อให้ระบายน้ำให้สะดวกขึ้น ลงมือดำเนินการระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 30 มีนาคม 2559
2. เชื่อมท่อระบายน้ำให้เสร็จสมบูรณ์ ลงมือดำเนินการระหว่างวันที่ 1 ถึง 30 มีนาคม 2558
3. ลอกท่อระบายน้ำ ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2558
4. เปลี่ยนช่องตะแกรงรับน้ำฝนให้ใหญ่ขึ้น ดำเนินการระหว่างวันที่ 10 ถึง 30 เมษายน 2558
5. เวลาดำเนินโครงการ
     ใช้เวลาทั้งสิ้น 3 เดือน เริ่มวันที่ 1 กุมภาพันธ์ สิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2558
6. งบประมาณและแหล่งงบประมาณ
     ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบานถ้วน)
7. วิธีการควบคุมและติดตามผล
     กำหนดควบคุมและตืดตามผลการดำเนินโครงการ ดังนี้
1. ใช้ตารางควบคุมกำกับงาน กำหนดกิจกรรม ระยะเวลา และขั้นการปฏิบัติงานและการควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ในตาราง
2. ให้ผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน รายงานผลให้นายกเทศบาลตำบลคลองแงะได้ทราบทุก 2 สัปดาห์
8. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ภาวะน้ำท่วมและน้ำท่วมขังภายหลังฝนตกหมดไป
2. บรรเทาปัญหาความเสียหายของประชาชนหมดไปจากภายหลังฝนตก
3. ไม่เกิดโรคระบาดจากภาวะน้ำท่วม
9. หน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการ
     กองช่าง เทศบาลตำบลคลองแงะ
สรุปการวิเคราะห์โครงการที่ได้จัดทำขึ้น
     จากการวิเคราะห์เป็นการจำแนกแยกเยอะ ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยการใช้เหตุและผล หรือหลักการทางวิชาการ ทฤษฎี หรือ กฎเกณฑ์ ที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมาเป็นพื้นฐานในการแจกแจงข้อมูลในการประเมินผลโครงการจึงนิยมใช้หลักการวิเคราะห์ คือ จะมีการนำเอาหลักการ ทฤษฎีหรือเหตุผลที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมาใช้ในรูปการประเมินโครงการ
     การวิเคราะห์ลักษณะโครงการที่ดี เป็นการนำเอาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด คือ ทางเลือกที่ผ่านการเห็นชอบแล้ว มาจัดทำเป็นโครงการ เพื่อปฏิบัติ โดยทั่วไปแล้ว การจัดทำโครงการตามวิธีที่ดีที่สุดจะมีขั้นตอนโดยการสรุปดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายให้ละเอียด  คือ จะต้องระบุให้ชัดเจน โครงการจะกระทำอะไร หรือเพื่อดำเนินการในโครงการจะเกิดขึ้นบ้าง และควรระบุให้ชัดเจนเฉพาะเจาะจง
     ซึ่งในโครงการที่กล่าวไว้ข้างต้นในวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการระบุไว้ชัดเจนอยู่แล้วในโครงการ กล่าวคือ เพื่อต้องการให้เกิดผลขึ้นโดยเฉพาะเจาะจง
2. ระบุชื่อผู้รับผิดชอบ
3. จัดทำโครงการปฏิบัติ



     //////////------------------------------------------- Cr.Khun โอเอ ---------------------------------------///////////////////

2 ความคิดเห็น: