วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560

เฉลย ข้อสอบเก่า รามคำแหง ส่วนภูมิภาค

HOMEPAGE

















เฉลยข้อสอบเก่า 









*** ข้อความใดๆที่ปรากฎบนเว็บไซด์นี้ เกิดขึ้นจากการรวบรวมตามความรู้ความเข้าใจของแอดมิน มิได้รับการรับรองใดๆจากผู้ทรงคุณวุฒิ จึงไม่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงใดๆได้ 


**** ชื่อ บุคคล หรือ สถานที่ที่ปรากฎบนเว็บไซด์นี้ เป็นเพียงการสมมติขึ้น อาจคล้ายกับบุคคลหรือสถานที่ใดๆ หากต้องการให้ทีมงานแก้ไข เปลี่ยนแปลง กรุณาติดต่อ love_poul@hotmail.com





POL4100 หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์

POL 4100 (PS 420)
หลักและวิธีการวิจัยทางรัฐศาสตร์
1.1.       ให้อธิบายความแตกต่างของคำว่าต่อไปนี้

1. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative research) กับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research)
ตอบ.....การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการใช้วิธีการเชิงปริมาณในการวิจัย โดยจะวัดผลสิ่งต่างๆ ที่ศึกษาออกมาเป็นตัวเลข มีการตั้งสมมุติฐานหรือมีการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามเพื่อที่จะนำไปทดสอบเปรียบเทียบหรือหาความสัมพันธ์ตามที่กำหนดไว้เสมอ และมีการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การวิเคราะห์ความถดถอย ,การทดสอบทีม, การทดสอบเอฟ
     ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่
1. ถือว่านักวิจัยควรแยกตัวเป็นอิสระออกจากสิ่งที่ศึกษา ดังนั้นในการวิจัยเชิงปริมาณจึงต้องพยายามควบคุมไม่ให้เกิดอคติในการวิจัย
2. มีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีระบบ
3. มีความเชื่อถือในความเป็นปรนัยหรือวัตถุวิสัย ในการประเมินสถานการณ์
4. ภาษาในการเขียนรายงานการวิจัยต้องเป็นภาษาที่ไม่แสดงออกถึงอารมณ์ใดๆทั้งสิ้น
5. แนวคิด ตัวแปร และสมมุติฐานในการวิจัย ต้องกำหนดไว้ล่วงหน้าก่อนลงมือทำวิจัย
6. ใช้การให้เหตุผลเชิงนิรนัย เพื่อการพิสูจน์สมมุติฐานในการวิจัยหรือทฤษฎีในเชิงเหตุผล
การวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative research) เป็นการวิจัยที่ค้นหาความรู้ความจริงจากเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้ง และเน้นการเก็บข้อมูลเชิงนามธรรมที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ โดยอาศัยข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล จะไม่ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล แตะจะใช้วิธีการอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์โดยใช้หลักเหตุผล การวิเคราะห์เชิงพรรณนา
     ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่
1. เน้นการศึกษาภาพรวมและบริบทของปรากฏการณ์ที่ศึกษาอย่างรอบด้านและเจาะลึก
2. เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลขนาดเล็ก ไม่เน้นการสำรวจคนเป็นจำนวนมาก
3. การศึกษาระยะยาวและเจาะลึก เนื่องจากการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคม
4. เน้นความเป็นมนุษย์ของผู้ที่ถูกศึกษา ในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์เป็นหลัก
5. ใช้แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม เช่น ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่
6. การวิจัยเชิงคุณภาพสร้างทฤษฎีและสมมุติฐานจากข้อมูลที่รวบรวมได้
7. การวิจัยเชิงคุณภาพแยกข้อมูลและการวิเคราะห์ที่มาจากระบบความคิด ความเชื่อ และการให้ความหมายของปรากฏการณ์จากมุมมองของคนที่ถูกศึกษาหรือชาวบ้าน


2. สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis) กับสมสติฐานในการวิจัย (Research hypothesis)
ตอบ.....สมมุติฐานในการวิจัย (Research hypothesis)คือ สมมุติฐานที่เขียนในรูปของการพรรณนาหรืออธิบายเป็นข้อความ โดยไม่ใช้สัญลักษณ์ ซึ่งมักจะมีคำว่า เป็น” , “ทำให้เกิด
     สมมุติฐานทางการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมมุติฐานในเชิงพรรณนา เป็นสมมุติฐานที่พรรณนาหรือบรรยายออมมาว่าจะเกิดอะไรขึ้น แล้วเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร อย่างไร โดยไม่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
2. สมมุติฐานในเชิงอธิบาย เป็นสมมุติที่อธิบายว่ามีตัวแปรอะไรที่เกี่ยวข้องกันบ้าง และตัวแปรไหนเป็นตัวอิสระ ตัวแปรตาม แล้วตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในลักษณะไหน
     สมมุติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis) คือ สมมุติฐานที่เขียนในรูปของสัญลักษณ์
     สมมุติฐานทางสถิติ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมมุติฐานหลักหรือสมมุติฐานศูนย์ เป็นสมมุติฐานที่กำหนดให้ตัวแปรตามไม่แตกต่างกันหรือเท่ากัน เพื่อที่จะหาข้อมูลมาพิสูจน์ว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธ
2. สมมุติฐานทางเลือก เป็นสมมุติฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นทางเลือกแทน Ho เมื่อถูกปฏิเสธ ดังนั้นสมมุติฐานทางเลือกจึงมีลักษณะตรงข้ามกับสมมุติฐานหลัก
     ในการเขียนสมมุติฐานทางสถิตินั้น สามารถที่จะแปลความหมายของสมมุติฐานทางสถิติได้หลายกรณี ตัวอย่างเช่น การศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมทางการเมืองระหว่างนักศึกษาชายกับนักศึกษาหญิง


3. ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) กับตัวแปรตาม (Dependent Variable)
ตอบ.....ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หรือตัวแปรต้นหรือตัวแปรที่เป็นเหตุเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลหรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดตัวแปรตาม มักใช้สัญลักษณ์แทนเป็น X           
          ตัวแปรตาม (Dependent Variable) หรือตัวแปรที่เป็นผล เป็นตัวแปรที่มีการเปลี่ยนแปลงอันได้รับอิทธิพลหรือผลกระทบมาจากตัวแปรตาม มักใช้สัญลักษณ์แทนเป็น Y


4. การเลือกตัวอย่าง (Sample selection) กับขนาดตัวอย่าง (Sample size)
ตอบ.....การเลือกตัวอย่าง (Sample selection) หรือการสุ่มตัวอย่าง หมายถึง กระบวนการเลือกประชากรมาศึกษาเพียงบางส่วนจากประชากรทั้งหมดในปริมาณเพียงพอและให้มีความเป็นตัวแทนหรือมีลักษณะใกล้เคียงกับประชากร เพื่อให้สามารถสรุปอ้างอิงผลการวิจัยไปยังประชากรทั้งหมด
     การเลือกหรือการสุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ การสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็นหรือการสุ่มตัวอย่างแบบที่เป็นไปตามโอกาสทางสถิติ และการสุ่มตัวอย่างแบบที่ไม่เป็นไปตามโอกาสทางสถิติ
1. การสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็นสามารถแบ่งออกเป็น 5 วิธี ดังต่อไปนี้
  1.1. การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย
  1.2. การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ
  1.3. การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ
  1.4. การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม
  1.5. การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
2. การสุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นไปตามโอกาสทางสถิติ สามารถแบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังต่อไปนี้
  2.1. การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ
  2.2. การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา
  2.3. การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
ประโยชน์หรือข้อดีของการสุ่มตัวอย่าง
     การสุ่มตัวอย่างมีประโยชน์หรือข้อดีอยู่หลายประการดังต่อไปนี้
1. ประหยัดเวลาและประหยัดแรงงาน
2. สามารถรวบรวมข้อมูลได้เร็วและง่าย
3. หากใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างที่ดีและถูกต้องตามหลักวิชาการ
4. ข้อมูลบางอย่างผู้วิจัยมาสามารถหาได้จากกลุ่มประชากร
     ขนาดตัวอย่าง (Sample size) หรือขนาดของกลุ่มตัวอย่าง หมายถึง จำนวนตัวอย่างหรือจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่นักวิจัยจะต้องทำการเลือกและไปเก็บข้อมูลมาเพื่อใช้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด
     เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณากำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้
1. ลักษณะความเหมือนกันของประชากร
2. ขนาดของประชากร
3. งบประมาณหรือต้นทุน
4. ความแม่นยำและความเชื่อถือได้
     วิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้
1. การพิจารณาจากขนาดของประชากร
2.การใช้สูตร
3. การใช้ตาราง


5. แบบสอบถาม (Questionnaire) กับแบบสัมภาษณ์ (Interview form)
ตอบ.....แบบสัมภาษณ์(Interview form) การสัมภาษณ์ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญ และนิยมใช้กันมากในการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งการสัมภาษณ์จะเป็นการรวบรวมข้อมูลแบบเผชิญหน้า โดยอาศัยการสนทนา หรือการถกเถียง และการซักถามระหว่างผู้สัมภาษณ์ กับผู้ถูกสัมภาษณ์หรือผู้ให้ข้อมูล เพื่อให้ได้คำตอบหรือข้อมูลที่ตนเองต้องการ ดังนั้นผู้สัมภาษณ์ควรจะเป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ค่อนข้างสูง จึงจะทำให้การสัมภาษณ์บรรลุเป้าหมายได้ตามที่ต้องการ
   การสัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
2.การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง
3. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง
     ข้อดีของการใช้แบบสัมภาษณ์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีดังนี้
1. สามารถนำไปใช้เก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกได้
2. สามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าผู้นั้นจะอ่านออกเขียนได้หรือไม่ก็ตาม
3. สามารถดัดแปลงหรือแก้ไขปรับปรุงข้อมูลหรือวิธีการสัมภาษณ์ได้ทันที
4. สามารถอธิบายคำถามที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่เข้าใจได้
5. สามารถสังเกตกิริยาของผู้ถูกสัมภาษณ์ในขณะที่สัมภาษณ์ได้ฯลฯ
     แบบสอบถาม (Questionnaire) ถือเป็นเครื่องที่สำคัญและนิยมใช้กันมากในการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเฉพาะการวิจัยเชิงสำรวจโดยเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ส่งแบบสอบถามไปยังผู้ตอบ แล้วให้ผู้ตอบตอบคำถามตามที่ผู้วิจัยกำหนดทางเอาไว้ ซึ่งแนวคำถามที่ใช้ในแบบสอบถามอาจจะเป็นเรื่องผู้ให้ข้อมูลจะเป็นผู้กรอกข้อมูลในแบบสอบถามด้วยตนเอง
     แบบสอบถาม มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนที่เป็นคำชี้แจงในการตอบ
2. ส่วนที่เป็นข้อมูลของผู้ตอบ
3. ส่วนที่เป็นคำถามให้ตอบ
     แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. แบบสอบถามแบบปลายปิด
2. แบบสอบถามแบบปลายเปิด


22.       เครื่องมือชนิดใดบ้างที่นิยมใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณและชนิดใดนิยมใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ
ตอบ.....1. เครื่องมือที่นิยมใช้กันมากในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์
          2. เครื่องมือที่นิยมใช้กันมากในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม


33.       ขั้นตอนในการวิจัยมีอะไรบ้าง อธิบายโดยสังเขป
ตอบ.....ขั้นตอนในการวิจัย มีลำดับขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
1. การกำหนดประเด็นปัญหาหรือการตั้งคำถามในการวิจัย หมายถึง คำถามที่ต้องการหาคำตอบจากปรากฏการณ์ที่นำมาศึกษาวิจัย โดยจะต้องเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ
2. การตั้งชื่อในการวิจัย หมายถึง นำคำถามที่คิดได้นี้ดัดแปลงเขียนออมมาเป็นชื่อเรื่องในการวิจัย โดยการเขียนชื่อเรื่องจะไม่เขียนเป็นประโยค ไม่ว่าจะเป็นประโยคบอกเล่าหรือประโยคคำถามก็ตาม
3. การทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมผลงานทางวิชาการจากแหล่งต่างๆ เช่น ตำรา หนังสืออ้างอิง พจนานุกรม บทความทางวิชาการ
4. การกำหนดกรอบแนวคิดและทฤษฎี หมายถึง กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาในเรื่องนั้นๆ โยจะมีการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม
5. การตั้งสมมุติฐานในการวิจัย หมายถึง การพยากรณ์ผลการวิจัยที่ผู้วิจัยพยากรณ์หรือคาดเดาคำตอบเอาไว้ล่วงหน้า ก่อนที่ผู้วิจัยจะสร้างเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อพิสูจน์สมมุติฐาน
6. การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายๆลักษณะ เพื่อจะนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ทดสอบสมมุติฐาน ตีความ และสรุปผลการวิจัยที่จะได้รับข้อมูลตรงกับความต้องการ มีความเที่ยงตรง และความเชื่อถือได้
7. การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง การนำเอาข้อมูลที่นักวิจัยเก็บรวบรวมมาได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลเชิงคุณภาพ รวมถึงความคิดเห็นหรือข้อเท็จจริงมาทำการจัดระเบียบ แยกแยะประเภทและองค์ประกอบ เปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ของข้อมูล
8. การเขียนรายงานการวิจัย (ขั้นตอนสุดท้าย) หมายถึง การเขียนรายงานการวิจัยเป็นการเขียนผลสรุปของการวิจัยซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัยเพื่อเผยแพร่ผลการวิจัยหรือข้อค้นพบให้ผู้อื่นได้ทราบ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การ สังคม ตลอดจนนำไปสู่ข้อค้นพบใหม่หรือองค์ความรู้ใหม่ และยังผลให้สาขาวิชานั้น ๆ มีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น


44.       การตั้งเรื่องในการวิจัยมีที่มาอย่างไร เกี่ยวข้องกับการสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัยอย่างไร
ตอบ.....การตั้งเรื่องในการวิจัยมีที่มา หลังจากได้คำถามหรือประเด็นปัญหาในการวิจัยแล้ว ก็จะนำคำถามที่คิดได้นี้มาดัดแปลงเขียนออกมาเป็นชื่อเรื่องในการวิจัย โดยการเขียนชื่อเรื่องจะไม่เขียนเป็นประโยค ไม่ว่าจะเป็นประโยคบอกเล่าหรือประโยชน์คำถามก็ตาม แต่การเขียนชื่อเรื่องจะเขียนเป็นวลี และจะไม่ใช้ตัวย่อในการเขียนชื่อเรื่อง ซึ่งสาเหตุที่บอกว่าการตั้งชื่อเรื่องเป็นวลี ก็เพราะว่าชื่อเรื่องไม่มีประธาน แต่ประโยคต้องมีประธาน กิริยา และกรรม  ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. นักการเมืองไทยมีบทบาทในการแก้ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างไรบ้าง
2. นักการเมืองไทยมีบทบาทในการแก้ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
3. บทบาทของนักการเมืองไทยในการแก้ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
เกี่ยวข้องกับการสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย คือ หลังจากที่ได้ตั้งชื่อเรื่องและการทบทวนวรรณกรรมเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัยให้ได้ว่าเราจะทำวิจัยอย่างไร จะทำวิจัยเกี่ยวกับอะไร โดยต้องวางแผนก่อนว่าอยากจะทำอะไร อยากรู้เรื่องอะไรบ้าง


55.       ให้อธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน

1. สมมติฐานในการวิจัย (Research hypothesis)
ตอบ.....สมมุติฐานในการวิจัย (Research hypothesis)คือ สมมุติฐานที่เขียนในรูปของการพรรณนาหรืออธิบายเป็นข้อความ โดยไม่ใช้สัญลักษณ์ ซึ่งมักจะมีคำว่า เป็น” , “ทำให้เกิด
     สมมุติฐานทางการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สมมุติฐานในเชิงพรรณนา เป็นสมมุติฐานที่พรรณนาหรือบรรยายออมมาว่าจะเกิดอะไรขึ้น แล้วเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร อย่างไร โดยไม่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
2. สมมุติฐานในเชิงอธิบาย เป็นสมมุติที่อธิบายว่ามีตัวแปรอะไรที่เกี่ยวข้องกันบ้าง และตัวแปรไหนเป็นตัวอิสระ ตัวแปรตาม แล้วตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในลักษณะไหน

2. ขนาดตัวอย่าง (Sample size)
ตอบ.....     ขนาดตัวอย่าง (Sample size) หรือขนาดของกลุ่มตัวอย่าง หมายถึง จำนวนตัวอย่างหรือจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่นักวิจัยจะต้องทำการเลือกและไปเก็บข้อมูลมาเพื่อใช้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด
     เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณากำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้
1. ลักษณะความเหมือนกันของประชากร
2. ขนาดของประชากร
3. งบประมาณหรือต้นทุน
4. ความแม่นยำและความเชื่อถือได้
     วิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้
1. การพิจารณาจากขนาดของประชากร
2.การใช้สูตร
3. การใช้ตาราง

3. ประชากร (Population)
ตอบ.....ประชากร (Population)หมายถึง ที่จะนำมาศึกษาทั้งหมดในการวิจัย ไม่ว่าจะเป็นคน พืช สัตว์ สิ่งของ หรือสิ่งไม่มีชีวิตก็จัดเป็นประชากรในการวิจัยได้ทั้งหมด ซึ่งในทางสังคมศาสตร์ก็จะเน้นไปที่คน

4. คำถามในการวิจัย (Research question)
ตอบ.....คำถามหรือประเด็นปัญหาในการวิจัย หมายถึง คำถามที่ต้องการหาคำตอบจากปรากฏการณ์ที่นำมาศึกษาวิจัย โดยจะต้องเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบหรือเป็นคำถามที่ไม่สามารถหาคำตอบได้โดยง่าย หรือหาคำตอบแต่ยังไม่ชัดเจน และจะต้องเป็นคำถามที่น่าสนใจที่จะหาคำตอบด้วย ซึ่งคำถามหรือประเด็นปัญหาในการวิจัยนี้ ถือเป็นสิ่งที่นักวิจัยจะต้องเข้าใจเป็นอันดับแรก

5. การวิจัยคุณภาพ (Qualitative research)
ตอบ.....การวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative research) เป็นการวิจัยที่ค้นหาความรู้ความจริงจากเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้ง และเน้นการเก็บข้อมูลเชิงนามธรรมที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ โดยอาศัยข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล จะไม่ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล แตะจะใช้วิธีการอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์โดยใช้หลักเหตุผล การวิเคราะห์เชิงพรรณนา
     ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่
1. เน้นการศึกษาภาพรวมและบริบทของปรากฏการณ์ที่ศึกษาอย่างรอบด้านและเจาะลึก
2. เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลขนาดเล็ก ไม่เน้นการสำรวจคนเป็นจำนวนมาก
3. การศึกษาระยะยาวและเจาะลึก เนื่องจากการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคม
4. เน้นความเป็นมนุษย์ของผู้ที่ถูกศึกษา ในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์เป็นหลัก
5. ใช้แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม เช่น ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่
6. การวิจัยเชิงคุณภาพสร้างทฤษฎีและสมมุติฐานจากข้อมูลที่รวบรวมได้
7. การวิจัยเชิงคุณภาพแยกข้อมูลและการวิเคราะห์ที่มาจากระบบความคิด ความเชื่อ และการให้ความหมายของปรากฏการณ์จากมุมมองของคนที่ถูกศึกษาหรือชาวบ้าน

6. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantilative data)
ตอบ.....ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantilative data) หมายถึง ข้อมูลที่บอกข้อเท็จจริงในลักษณะที่เป็นตัวเลข สามารถนับจำนวนได้ และคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้ โดยข้อมูลประเภทนี้จะเก็บรวบรวมได้จากการวัด การนับ หรือจากผลการทดลอง ซึ่งมักจะเป็นข้อมูลหรือค่าตัวแปรที่ได้จากมาตรวัดแบบอันตรภาค และมาตรวัดแบบอัตราส่วน เช่น อุณหภูมิ อายุ รายได้ เงินเดือน ค่าตอบแทน น้ำหนัก ส่วนสูง ข้อมูลสถิติตัวเลขต่างๆ จำนวนคน เป็นต้น

7. ตัวแปรตาม (Dependent variabie)
ตอบ.....ตัวแปรตาม (Dependent variabie)หรือตัวแปรที่เป็นผล เป็นตัวแทนที่มีการเปลี่ยนแปลงอันได้รับอิทธิพลหรือผลกระทบมาจากตัวแปรอิสระ มักจะใช้สัญลักษณ์แทนเป็น Y


66.       การวิจัยคืออะไร มีขั้นตอนอย่างไร ท่านสามารถใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการวิจัย
ตอบ.....การวิจัย (Reseach) หมายถึง กระบวนการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ความจริงอย่างมีระเบียบแบบแผน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการอื่นที่เชื่อถือได้ เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ๆ หรือแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งกระบวนการในการวิจัยมีขั้นตอนสำคัญต่างๆในการวิจัยที่เราจะต้องศึกษาทำความเข้าใจนั้น ได้แก่
1. การตั้งคำถามในการวิจัย
2. การตั้งชื่อเรื่องในการวิจัย
3. การทบทวนวรรณกรรม
4. การกำหนดกรอบแนวคิดและทฤษฎี
5. การตั้งสมมุติฐานในการวิจัย
6. การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย
7. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย
8. การเขียนรายงานการวิจัย
     สามารถใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น
1. แบบสอบถาม
2. แบบทดสอบ


77.       ประชากร (Population) กับกลุ่มตัวอย่าง (Sample)
ตอบ.....ประชากร (Population)หมายถึง ที่จะนำมาศึกษาทั้งหมดในการวิจัย ไม่ว่าจะเป็นคน พืช สัตว์ สิ่งของ หรือสิ่งไม่มีชีวิตก็จัดเป็นประชากรในการวิจัยได้ทั้งหมด ซึ่งในทางสังคมศาสตร์ก็จะเน้นไปที่คน
     ขนาดตัวอย่าง (Sample size) หรือขนาดของกลุ่มตัวอย่าง หมายถึง จำนวนตัวอย่างหรือจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่นักวิจัยจะต้องทำการเลือกและไปเก็บข้อมูลมาเพื่อใช้เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด
     เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณากำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้
1. ลักษณะความเหมือนกันของประชากร
2. ขนาดของประชากร
3. งบประมาณหรือต้นทุน
4. ความแม่นยำและความเชื่อถือได้
     วิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้
1. การพิจารณาจากขนาดของประชากร
2.การใช้สูตร
3. การใช้ตาราง


88.       ตัวแปรภายนอก (Extrancous variable) กับตัวแปรแทรก (Intervening variable)
ตอบ..... ตัวแปรภายนอก (Extrancous variable) คือ เป็นตัวแปรที่ไม่ได้ตั้งใจศึกษาวิจัยแต่มีผลต่อตัวแปรตามโดยนักวิจัยสามารถควบคุมได้
     ตัวแปรแทรก (Intervening variable) หรือ ตัวแปรคั่นกลาง เป็นตัวแปรที่ไม่ได้ตั้งใจศึกษาวิจัย แต่มีผลต่อตัวแปรตามโดยนักวิจัยไม่สามารถควบคุมได้


99.       ตัวแปรอิสระ (Independent variable) กับตัวแปรตาม (Dependent variable) แตกต่างกันอย่างไร ถ้าท่านต้องการศึกษาว่าความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นกับ เพศอาชีพ และระดับการศึกษาของประชาชนหรือไม่ ท่านคิดว่าอะไรเป็นตัวแปรอิสระอะไรเป็นตัวแปรตาม และท่านเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัยกับสมมติฐานในการวิจัยอย่างไร
ตอบ.....ตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม แตกต่างกัน คือ ในการวิจัยเรื่องหนึ่งๆนั้น การจะดูว่าตัวแปรไหนเป็นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรไหนเป็นตัวแปรตามนั้น ก็ดูว่าถ้าเป็นตัวแปรอิสระก็จะไม่ขึ้นกับใครหรือไม่ตามใครหรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดตัวแปรตาม แต่ถ้าเป็นตัวแปรตามจะขึ้นกับตัวแปรอิสระหรือจะเปลี่ยนแปลงตามตัวแปรอิสระ ตัวอย่างเช่น......
     ข้อความที่ว่า ถ้าอายุเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานจะลดลง” แสดงว่าอายุเป็นตัวแปรอิสระ ส่วนประสิทธิภาพในการทำงานเป็นตัวแปรตาม
      จากการศึกษาว่าความพึงพอใจของประชาชน ในเรื่องโครงการจำนำข้าวในยุคของ นางสาว ยิ่งลักษณ์ นั้นทำให้ประชาชนมีความพึงพอใจมาก ไม่ว่าทั้งเพศชายหรือเพศหญิง ที่อยู่ในอาชีพ เกษตรกร การทำนา จากการศึกษา จากแบบสัมภาษณ์ มา
     การศึกษาความพึงพอใจ เป็นตัวแปรอิสระ และ ระดับการศึกษาของประชาชน เป็นตัวแปรตาม


110.   จากคำถามในข้อ 9 ท่านจะตั้งชื่อเรื่องว่าอะไร และใช้เครื่องมืออะไรในการวิจัยเพราะอะไร
ตอบ.....ชื่อเรื่อง โครงการจำขำข้าวของรัฐบาล และใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม


111.   คำถามในการวิจัย (Research question) กับกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual framework)
ตอบ.....คำถามหรือประเด็นปัญหาในการวิจัย หมายถึง คำถามที่ต้องการหาคำตอบจากปรากฏการณ์ที่นำมาศึกษาวิจัย โดยจะต้องเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบหรือเป็นคำถามที่ไม่สามารถหาคำตอบได้โดยง่าย หรือมีคำตอบแต่ยังไม่ชัดเจน และจะต้องเป็นคำถามที่น่าสนใจที่จะหาคำตอบด้วย
     กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual framework) กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาในเรื่องนั้นๆ โยจะมีการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามคล้ายกับสมมุติฐานในการวิจัย ซึ่งในการวิจัยทางรัฐศาสตร์นี้ก็จะมีการนำเอาแนวคิด มโนทัศน์หรือ สังกัปทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย


112.   ให้อธิบายความหมายของตัวแปรดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่าง
1. ตัวแปรอิสระ (Independent variable)
ตอบ.....ตัวแปรอิสระ (Independent variable)หรือ ตัวแปรต้นหรือตัวแปรที่เป็นเหตุเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลหรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดตัวแปรตาม มักจะใช้สัญลักษณ์แทนเป็น x
2. ตัวแปรแทรก (Intervening variable)
ตอบ.....ตัวแปรแทรก (Intervening variable) หรือตัวแปรคั่นกลาง เป็นตัวแปรที่ไม่ได้ตั้งใจศึกษาวิจัย แต่มีผลต่อตัวแปรตามโดยนักวิจัยไม่สามารถควบคุมได้
3. ตัวแปรระดับ Nominal
ตอบ.....ตัวแปรระดับ Nominal หรือมาตรวัดแบบนามบัญญัติ หรือมาตรวัดแบบกลุ่ม ค่าตัวแปรที่วัดได้จากมาตรวัดนี้ เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ สามารถแบ่งกลุ่มได้ แต่ไม่สามารถจัดอันดับและไม่สามารถวัดเป็นเชิงปริมาณหรือตัวเลขได้ ดังนั้นจึงไม่สามารถนำมาคำนวณ (บวก ลบ คูณ หาร) ได้ และไม่มีศูนย์แท้หรือศูนย์สัมบูรณ์ เช่น เพศ ภูมิภาค ศาสนา อาชีพ สถานภาพสมรส คณะ(รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ วิทยาศาสตร์) เพลง ภาพยนตร์ รุ่นของรถยนต์ ยี่ห้อ สี แนวคิด เป็นต้น
4. ตัวแปรระดับ Ratio

ตอบ.....ตัวแปรระดับ Ratio หรือ มาตรวัดแบบอัตราส่วน ค่าแปรที่วัดได้จากมาตรวัดนี้ เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ สามารถแบ่งกลุ่ม จัดอันดับ และวัดเป็นเชิงปริมาณหรือตัวเลขได้ ดังนั้นจึงสามารถนำมาคำนวณได้ และยังมีศูนย์แท้หรือศูนย์สัมบูรณ์ด้วย เช่น อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ความกว้าง ความยาว เวลา รายได้ เงินเดือน จำนวนคน ประสบการณ์(ปี) เป็นต้น



กฎหมายปกครอง Law3012


พรบ.ประกอบการเรียนการสอน วิชากฏหมายปกครอง

http://www.law3012.ru.ac.th/file

ใจความสำคัญ ของวิชา กฎหมายปกครอง
http://Law3012.ru.ac.th/file2

ตัวอย่างการตอบคำถามวิชากฎหมายปกครอง


ข้อสอบวิชากฎหมายปกครอง เป็นวิชาที่ว่าด้วย ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับผู้ปฎิบัติหน้าที่ทางปกครอง ข้อสอบมักจะยกตัวอย่างเหตุการณ์ในกรณีต่างๆมาสอบถามว่า ผิดหรือไม่ ผิดอย่างไร และ จะแนะนำเช่นไร

การตอบคำถามวิชากฎหมายปกครอง ให้เรียบเรียงคำตอบเป็น 3 ย่อหน้า ดังนี้
1.ย่อหน้าแรกให้วางตัวบทกฎหมายที่ใช้ในการวินิจฉัย
2.ย่อหน้าที่สองให้ใช้ตัวบทกฎหมายที่ว่างหลักไว้ในย่อหน้าแรก ว่าผู้ใดผิด ผิดหรือไม่ผม ตามมาตราใด พรบ.ใด
3. ย่อหน้าสุดท้าย ให้สรุปใจความสำคัญสั้นๆตามที่โจทย์ถามในวรรคสุดท้าย


กฎหมายปกครอง ภาค2/59

ข้อ3. พรบ.จัดตั้งศาลปกครอง พ.ศ.2542 
มาตรา 9 ว่าหลักไว้ว่า ศาลปกครองมีอำนาจ .......
วรรค1.คดีพิพาทเก่ียวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้า...
 
มาตรา 42 ว่าหลักไว้ว่า .....





👱👱👱👱👱👱แล้วจะมาเขียนต่อนะ

พรบ.ประกอบการเรียนการสอน วิชากฏหมายปกครอง

http://www.law3012.r u.ac.th/file

ใจความสำคัญ ของวิชา กฎหมายปกครอง
http://www.law3012.ru. ac.th/file2

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เฉลย ข้อสอบเก่า รามคำแหง ส่วนภูมิภาค ล่าสุด

HOMEPAGE

















เฉลยข้อสอบเก่า 









*** ข้อความใดๆที่ปรากฎบนเว็บไซด์นี้ เกิดขึ้นจากการรวบรวมตามความรู้ความเข้าใจของแอดมิน มิได้รับการรับรองใดๆจากผู้ทรงคุณวุฒิ จึงไม่สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงใดๆได้ 


**** ชื่อ บุคคล หรือ สถานที่ที่ปรากฎบนเว็บไซด์นี้ เป็นเพียงการสมมติขึ้น อาจคล้ายกับบุคคลหรือสถานที่ใดๆ หากต้องการให้ทีมงานแก้ไข เปลี่ยนแปลง กรุณาติดต่อ love_poul@hotmail.com




วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เฉลย แนวคำตอบ ธงคำตอบ ข้อสอบ Law1001

   เกณฑ์การแบ่งแยกประเภทกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
ในการแบ่งประเภทของกฎหมายว่าเป็นกฎหมายเอกชนหรือมหาชนนั้น  มีหลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาอยู่ 4 หลักเกณฑ์ด้วยกัน ทั้งนี้ ในการพิจารณาจะต้องคำนึงทั้ง 4 หลักเกณฑ์นี้ควบคู่กันไป ไม่อาจที่จะแยกคำนึงถึงหลักเกณฑ์ใดเพียงหลักเกณฑ์ได้ ดังต่อไปนี้
(1) เกณฑ์องค์กร คือ ยึดถือตัวบุคคลผู้ก่อนิติสัมพันธ์เป็นเกณฑ์ กฎหมายมหาชน ใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ที่ก่อขึ้นระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง กฎหมายเอกชน ใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ที่ก่อขึ้นระหว่างเอกชนด้วยกันเท่านั้น ดังนี้ จะเห็นได้ว่ากฎหมายมหาชนนั้นกำหนดความสัมพันธ์ที่ฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐ (ผู้ปกครอง) ซึ่งมีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง (ผู้อยู่ใต้ปกครอง) คือ เป็นนิติสัมพันธ์ที่ผู้ก่อมีสถานะไม่เท่าเทียมกันหรือเป็นนิติสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับเรื่องการใช้อำนาจปกครองซึ่งทำขึ้นระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง ส่วนกฎหมายเอกชนนั้น เป็นเรื่องของผู้ก่อนิติสัมพันธ์ที่มีสถานะเหมือนกันและเท่าเทียมกัน
(2) เกณฑ์วัตถุประสงค์ คือ ยึดถือจุดประสงค์ของนิติสัมพันธ์ที่ผู้ก่อนิติสัมพันธ์ทั้ง 2 ฝ่ายทำขึ้นเป็นเกณฑ์ กฎหมายมหาชน ใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ (public interest) คือ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนรวมนั่นเอง เช่น สัญญาสัมปทานที่รัฐทำกับเอกชนเพื่อจัดสาธารณูปโภคต่าง ๆ กฎหมายเอกชน ใช้บังคับนิติสัมพันธ์ที่มุ่งถึงผลประโยชน์ของตน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศของบุคคลนั้น ๆ เองเป็นหลัก
 (3) เกณฑ์วิธีการ วิธีการที่ใช้ในการก่อนิติสัมพันธ์ของ 2 กรณีนี้ จะแตกต่างกัน โดยสิ้นเชิง กล่าวคือ กฎหมายมหาชนใช้สำหรับนิติสัมพันธ์ที่ไม่ต้องอาศัยความสมัครใจของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (เอกชน) เลย รัฐสามารถออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตได้ และถ้ามีการฝ่าฝืน รัฐสามารถบังคับให้เอกชนปฏิบัติตามได้ทันทีโดยไม่ต้องไปฟ้องศาล ทั้งนี้ เพราะเป็นการทำเพื่อประโยชน์สาธารณะในฐานะผู้กปกครอง เช่น ตำรวจจราจรให้สัญญาณหยุดรถ ถ้ารถไม่หยุดเพราะไม่สมัครใจจะหยุด ตำรวจจราจรสามารถปรับคนขับรถได้
กฎหมายเอกชน ใช้กับนิติสัมพันธ์ที่ต้องอาศัยความสมัครใจของผู้ก่อนิติสัมพันธ์ทั้ง 2 ฝ่าย เนื่องจากยึดถือหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน เพราะเป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว จึงต้องให้มีการทำสัญญากันอย่างเสรี หากฝ่ายใดขัดขืน ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล เพราะต่างฝ่ายต่างเสมอภาคกัน ต้องให้ศาลทำหน้าที่เป็นคนกลางเข้ามาตัดสิน
(4)  เกณฑ์เนื้อหา กฎหมายมหาชน เป็นกฎเกณฑ์ที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ระบุตัวบุคคล (กฎหมายตามภาวะวิสัย) คือ เป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ได้ทั่วไปกับบุคคลใดก็ได้ไม่เฉพาะเจาะจง และตกลงยกเว้นไม่ปฏิบัติตามไม่ได้ ถือว่าเป็นกฎหมายบังคับ

** กฎหมายเอกชน ไม่ใช่กฎหมายบังคับ เอกชนสามารถตกลงผูกพันกันเป็นอย่างอื่น นอกจากกฎหมายเอกชนบัญญัติไว้ (แต่ต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน) ถ้าหากเอกชนไม่ตกลงให้แตกต่างออกไป  ก็จะบังคับกันตามที่กฎหมายเอกชนบัญญัติไว้  (เท่ากับว่ากฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายเสริมนั่นเอง) ดังนี้ เมื่อเอกชนยอมใช้กฎหมายเอกชนระหว่างกัน ทำให้กฎหมายเอกชนมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์เฉพาะเรื่องที่สร้างขึ้นเพื่อใช้กับบุคคลเฉพาะรายเท่านั้น (เป็นกฎหมายตามอัตวิสัย)  เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  เป็นต้น
---------------------------------------------------------------///////////////////-------------------------------------------------------------------
 ความหมายของกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
กฎหมายเอกชน คือ กฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อกันในฐานะ ผู้อยู่ใต้ปกครองที่ต่างฝ่ายต่างก็เท่าเทียมกัน2
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐและหน่วยงานของรัฐกับเอกชน  หรือหน่วยงานของรัฐด้วยกัน ในฐานะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็น ผู้ปกครอง3
---------------------------------------------------------------///////////////////-------------------------------------------------------------------
กฎหมายมหาชน หรือ PRINCIPLE OF PUBLIC LAW
กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปกครองบริหารประเทศและรวมถึงการบริการสาธารณะ

การใช้อำนาจตามกฎหมายของผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนในการปกครองของผู้ปกครองนั้น หากผู้ปกครองหรือผู้ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่มากกว่าประชาชนโดยทั่วไป ได้กระทำการเบี่ยงเบนในการใช้อำนาจและหน้าที่ของตนไปในทางที่ไม่ดี จะทำให้ประชาชนภายใต้ปกครองได้รับผลกระทบที่เสียหายโดยตรงจากการเบี่ยงเบนการใช้อำนาจปกครองที่ถูกต้องของผู้ปกครองนั้น
---------------------------------------------------------------///////////////////-------------------------------------------------------------------

หลักการใช้อำนาจ การใช้อำนาจและหน้าที่ดังกล่าวจึงต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานและหลักการที่เหมาะสม ซึ่งเป็นที่มาของ "หลักการใช้อำนาจหน้าที่ตามหลักกฎหมายมหาชนในการบริหารประเทศและการบริการสาธารณะของรัฐ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ"
มีอยู่ 3 ประการสำคัญคือ
1. กระทำเพื่อให้บรรลุผลตามประสงค์ของกฎหมายเท่านั้น การใช้อำนาจและหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องกระทำเพื่อให้บรรลุผลตามประสงค์ของกฎหมายเท่านั้น คือ ผู้ที่มีอำนาจและหน้าที่ในการปกครองบริหารประเทศ จะต้องมีกฎหมายให้อำนาจและหน้าที่ไว้ นอกจากนั้น กฎหมายจะต้องเป็นกฎหมายที่บัญญัติโดยประชาชนหรือตัวแทนประชาชนในการให้อำนาจและหน้าที่ดังกล่าว เพื่อนให้ผู้ปกครองใช้อำนาจตามกฎหมายนั้นในการทำหน้าที่ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อประโยชน์และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ
2. กระทำตามความเหมาะสมและตามสมควรเท่านั้น การใช้อำนาจและหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องกระทำตามความเหมาะสมและตามสมควรเท่านั้น คือ การใช้อำนาจและหน้าที่การปกครองเพื่อประโยชน์ของสาธารณะชนหรือของประชาชนโดยรวม ทั้งนี้เนื่องจากเป็นเรื่องที่หาข้อยุติได้ยาก เพราะเป็นเรื่องของการใช้ดุลยพินิจที่มีองค์ประกอบและเงื่อนไขหลายประการในแต่ละบุคคล แต่ละสถานการณ์ และในแต่ละสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ดีการพิจารณาในเรื่องของความเหมาะสมและสมควรจึงพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจและหน้าที่นั้น ดั่งที่กล่าวมาว่าจะต้องเป็นประโยชน์แก่ประชาชน มีจุดมุ่งกมายเพื่อการบริการแก่สาธารณะชน
3. จะต้องไม่เป็นการสร้างภาระให้แก่ประชาชนจนเกินควร การใช้อำนาจและหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องไม่เป็นการสร้างภาระให้แก่ประชาชนจนเกินควร คือ เนื่องจากการที่ผู้ปครองมีอำนาจและหน้าที่มากกว่าและเกินกว่าที่ประชาชนมี จึงอาจทำให้สิทธิและประโยชน์บางประการของประชาชนบางส่วนต้องสูญเสียไป หรือเรียกได้ว่าเกิดภาระขึ้น ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่ว่าประชาชนอาจจะต้องเกิดภาระขึ้นบ้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการปกครองและบริหารประเทศของผู้ปกครอง แต่อย่างไรก็ตามการใช้อำนาจและหน้าที่ดังกล่าวในการบริหารและปกครองประเทศจะต้องไม่มีผลกระทบและสร้างภาระแก่ประชาชนมากจนเกินควร เพราะมิฉะนั้นจะถือได้ว่าเป็นการขัดต่อหลักการของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งยึดหลักในเรื่องของความสงบสุขและความเป็นธรรมของคนในสังคม
---------------------------------------------------------------///////////////////-------------------------------------------------------------------
จงอธิบายกฎหมายมหาชนเกี่ยวข้องกับตัวนักศึกษาอย่างไร
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐและหน่วยงานของรัฐกับเอกชน  หรือหน่วยงานของรัฐด้วยกัน ในฐานะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็น ผู้ปกครองโดยเกี่ยวข้องกับตัวข้าพเจ้าและบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็น "ผู้ใต้ปกครอง" คือ
- ด้านอำนาจนิติบัญญัติ เช่น การใช้สิทธิ์เลือกตั้ง การใช้สิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง
- ด้านอำนาจบริหาร เช่น การแสดงความคิดเห็นต่อนโยบายต่างๆของรัฐ
-ด้านอำนาจตุลาการ เช่น การสู้คดี หรือ การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับศาลในเรื่องต่างๆ
-ด้านอื่นๆ เช่น กฎ ระเบียบ คำสั่งทางปกครอง การกระทำทางปกครอง สัญญาทางปกครอง
---------------------------------------------------------------///////////////////-------------------------------------------------------------------
ข้อ  1  จงนำกฎหมายมหาชนไปอธิบายการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทยในปัจจุบันว่า  การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทยในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชนอย่างไร  พร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน
ธงคำตอบ
กฎหมายมหาชน  คือ  กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ  แก่หน่วยงานทางปกครองหรือหน่วยงานของรัฐและแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในทางปกครองและการบริการสาธารณะ  เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่  ในฐานะที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจเหนือผู้ใต้ปกครอง
กฎหมายมหาชน  ปัจจุบันได้แก่  กฎหมายรัฐธรรมนูญ  และกฎหมายปกครอง
กฎหมายรัฐธรรมนูญ  เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการวางระเบียบการปกครองของรัฐในทางการเมืองโดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ  ระบอบการปกครอง  การใช้อำนาจอธิปไตยและการดำเนินงานของสถาบันสูงสุดของรัฐที่ใช้อำนาจอธิปไตย
กฎหมายปกครอง  เป็นกฎหมายที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐในทางปกครองที่เรียกว่า  การจัดระเบียบราชการบริหาร” รวมทั้งการวางระเบียบเกี่ยวกับกิจกรรมของฝ่ายปกครองที่เรียกว่า บริการสาธารณะ” ซึ่งฝ่ายปกครองจัดทำเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน
ราชการแผ่นดินของไทยแบ่งออกเป็น  3  ส่วน  ได้แก่  ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค  และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น  ซึ่งเป็นผลมาจากกฎหมายปกครองดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
นอกจากนี้ยังกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า  กฎหมายปกครอง  เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงานปกครอง  และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการออกคำสั่งปกครอง  ให้อำนาจในการออกกฎ  ให้อำนาจในการกระทำทางปกครองและสัญญาทางปกครอง
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น”  เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจปกครอง  โดยให้มีการจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรขึ้นมาแยกออกจากราชการบริหารส่วนกลาง  มีงบประมาณและเจ้าหน้าที่เป็นของตนเอง  และมีความเป็นอิสระในการจัดทำบริการสาธารณะที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้  ซึ่งปัจจุบันการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นประกอบไปด้วยหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ  5  ประเภท  ได้แก่
1       เทศบาล         2       องค์การบริหารส่วนตำบล           3       องค์การบริหารส่วนจังหวัด        4       กรุงเทพมหานคร
5       เมืองพัทยา
และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น  (รวมทั้งการบริหารราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค)  ของไทย ปัจจุบันจะเกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชนในแง่ที่ว่ากฎหมายมหาชน ซึ่งได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง  เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์และวางหลักในการจัดระเบียบการปกครองของรัฐ  รวมทั้งบัญญัติสถานะอำนาจหน้าที่แก่ฝ่ายปกครองในทางปกครองและการจัดทำบริการสาธารณะ  เพื่อสนองความต้องการของประชาชนภายในรัฐ  หากไม่มีกฎหมายมหาชนบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ไว้  ฝ่ายปกครองก็จะไม่สามารถดำเนินการใดๆได้  เพราะตามหลักการของกฎหมายมหาชนแล้ว  ฝ่ายปกครองจะกระทำการใดๆได้  ก็ต่อเมื่อกฎหมายบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ไว้เท่านั้น
ตัวอย่างที่ถือว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชน  เช่น  ในการจัดตั้งเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น  ก็จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายมหาชนได้กำหนดไว้  หรือเมื่อมีการจัดตั้งขึ้นมาแล้ว เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นจะมีอำนาจและหน้าที่ประการใดบ้าง  ก็จะต้องมีกฎหมายมหาชน  (ซึ่งในที่นี้ก็คือกฎหมายปกครองนั่นเอง)  บัญญัติถึงอำนาจและหน้าที่ไว้ด้วย  ทั้งนี้เพราะตามหลักกฎหมายมหาชนนั้น  หน่วยราชการบริหารส่วนท้องถิ่น  (รวมทั้งหน่วยราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค)  จะสามารถดำเนินการใดๆได้  ก็จะต้องมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่ไว้เท่านั้น และ ในการใช้อำนาจหน้าที่ทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าว  ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ  ออกคำสั่งทางปกครอง  รวมทั้งการกระทำทางปกครองรูปแบบอื่นหรือการทำสัญญาทางปกครอง  หากเกิดกรณีพิพาทที่เป็นกรณีทางปกครอง  ก็จะต้องนำคดีพิพาทนั้นไปฟ้องต่อศาลปกครอง  เพื่อให้ศาลปกครองเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
-----------------------------------------------------------////////////////////////-------------------------------------------------------------------

จงนำกฎหมายมหาชนไปอธิบายการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทยปัจจุบัน ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทยปัจจุบันเกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชนอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบชัดเจน
ตอบ
1. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย มี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ
1). การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วประเทศทุกจังหวัด มี 3 ประเภทได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
2). การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีการบริหารจัดการไม่เหมือนกับรูปแบบทั่วไป จะมีขึ้นเป็นกรณีๆ ไป ส่วนใหญ่จะเป็นเขตเมืองใหญ่ เช่น เมืองหลวงหรือเมืองท่องเที่ยว ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะใช้รูปแบบทั่วไปมาใช้ในการปกครอง ปัจจุบันมีกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาที่เป็นประเภทนี้
2. กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐและหน่วยงานของรัฐกับเอกชน  หรือหน่วยงานของรัฐด้วยกัน ในฐานะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็น ผู้ปกครอง ซึ่ง กฏหมายมหาชน เป็นเรื่องของอำนาจ ได้แก่
- ด้านอำนาจนิติบัญญัติ
- ด้านอำนาจบริหาร
-ด้านอำนาจตุลาการ เช่น
-ด้านอื่นๆ เช่น กฎ ระเบียบ คำสั่งทางปกครอง การกระทำทางปกครอง และ สัญญาทางปกครอง
ส่วนที่กฎหมายปกครองเข้ามาเกี่ยวข้องกับการบริหารราชการท้องถิ่น คือ กฎหมายมหาชนให้อำนาจหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นในการออก กฎ ระเบียบ หรือ คำสั่งทางปกครอง หรือ การกระทำทางปกครอง หรือ สัญญาทางปกครอง
-----------------------------------------------------------------////////////////////-----------------------------------------------------------------
ข้อ  2  จงทำตามคำสั่งต่อไปนี้
ก)      กฎหมายมหาชนเกี่ยวข้องกับตัวนักศึกษาอย่างไร  พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ข)     จงบอกความแตกต่างระหว่างระบบศาลเดี่ยวและระบบศาลคู่ในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐมาโดยละเอียด
ธงคำตอบ
ก)     กฎหมายมหาชน  คือ  กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ  แก่หน่วยงานทางปกครองหรือหน่วยงานของรัฐและแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในทางปกครองและการบริการสาธารณะ  เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่  ในฐานะที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจเหนือผู้ใต้ปกครอง
กฎหมายปกครอง  เป็นกฎหมายที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐในทางปกครองที่เรียกว่า  การจัดระเบียบราชการบริหาร” รวมทั้งการวางระเบียบเกี่ยวกับกิจกรรมของฝ่ายปกครองที่เรียกว่า บริการสาธารณะ” ซึ่งฝ่ายปกครองจัดทำเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน
นอกจากนี้ยังกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า  กฎหมายปกครอง  เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงานปกครอง  และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการออกคำสั่งปกครอง  ให้อำนาจในการออกกฎ  ให้อำนาจในการกระทำทางปกครองและสัญญาทางปกครอง
หน่วยงานปกครอง  ได้แก่  หน่วยงานในราชการบริหารส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาค  ส่วนท้องถิ่น  รัฐวิสาหกิจ  และหน่วยงานอื่นๆที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง  รวมถึงหน่วยงานเอกชนที่ใช้อำนาจหรือได้รับสอบให้ใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย  เช่น  สำนักงานรังวัดเอกชน  สถานที่ตรวจสภาพรถยนต์  สภาทนายความ ฯลฯ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ  ได้แก่  บุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้ใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในทางปกครองของรัฐ  ได้แก่  ข้าราชการ  พนักงานเจ้าหน้าที่  ลูกจ้าง  คณะบุคคล  หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง  ฯลฯ
การสมัครเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ  ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองก็จะต้องดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับของทางมหาวิทยาลัยฯ  ซึ่งระเบียบหรือข้อบังคับของทางมหาวิทยาลัยฯนั้นถือว่าเป็น  กฎ” ที่ทางมหาวิทยาลัยฯ สามารถออกมาบังคับใช้กับนักศึกษาได้โดยอาศัยอำนาจตาม .ร.บ.  มหาวิทยาลัยรามคำแหง  ซึ่งเป็นกฎหมายปกครองและกฎหมายมหาชนนั่นเอง  และถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรือกฎดังกล่าว  เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยฯซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็มีอำนาจสั่งไม่รับบุคคลนั้นเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯก็ได้  ซึ่งคำสั่งดังกล่าวของเจ้าหน้าที่นั้นถือว่าเป็น  คำสั่งทางปกครอง” ซึ่งเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งนั้นได้ตามกฎหมายดังกล่าว
ในการเข้ารับฟังการบรรยายของท่านอาจารย์  การบรรยายของท่านอาจารย์ (การสอน) ถือว่าเป็น  การกระทำทางปกครอง” ประเภทหนึ่งที่เรียกกันว่า ปฏิบัติการทางปกครอง” และการบรรยายของท่านอาจารย์ดังกล่าวก็เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กฎหมายคือ .ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้กำหนดไว้ และคำสั่งของอธิการบดีที่สั่งให้อาจารย์แต่ละท่านบรรยายวิชาต่างๆนั้น ถือว่าเป็น คำสั่งทางปกครอง” ซึ่งอธิการบดีมีอำนาจออกคำสั่งได้โดยอาศัยตามกฎหมายดังกล่าว
นอกจากนั้นในการสอบแต่ละวิชา  การประกาศผลสอบของมหาวิทยาลัยฯหรือเมื่อนักศึกษาได้ทำการศึกษาจนจบหลักสูตร  มหาวิทยาลัยฯออกปริญญาบัตรให้แก่นักศึกษา  การประกาศผลสอบและการออกปริญญาบัตรให้แก่นักศึกษาดังกล่าว  ก็ถือว่าเป็นการออก  คำสั่งทางปกครอง” ซึ่งเป็นการใช้อำนาจปกครองตามที่ .ร.บ.  มหาวิทยาลัยฯ  ซึ่งเป็นกฎหมายปกครองและกฎหมายมหาชนได้กำหนดไว้นั่นเอง
ข)      ในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ  ในระบบศาลเดี่ยวและระบบศาลคู่  มีความแตกต่างกันดังนี้คือ
ระบบศาลเดี่ยว  หมายความว่า  ศาลยุติธรรมเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีทั้งหลายทั้งปวง  ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง  คดีอาญา  คดีปกครอง  โดยศาลจะนำหลักกฎหมายธรรมดา  (กฎหมายเอกชน)  มาปรับแก่คดี  ไม่ว่าคดีนั้นจะเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน  หรือเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน  ทั้งนี้เนื่องมาจากในประเทศที่มีระบบศาลเดี่ยวนั้น  จะไม่มีการแยกระหว่างกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบศาลเดี่ยวคือสหรัฐอเมริกา  เป็นต้น
ระบบศาลคู่  หมายความว่า  ระบบการควบคุมฝ่ายปกครองทางศาลที่มีศาลพิเศษแยกต่างหากจากศาลยุติธรรม  กล่าวคือ  เป็นระบบการควบคุมฝ่ายปกครองที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น  ส่วนการวินิจฉัยขี้ขาดคดีปกครองนั้นให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง  ซึ่งมีระบบศาลและระบบผู้พิพากษาแยกต่างหากจากระบบศาลยุติธรรม  ตัวอย่างเช่น  ประเทศฝรั่งเศส  เบลเยียม  สวีเดน  ฟินแลนด์  ไทย  เป็นต้น
--------------------------------------------------------------///////////////----------------------------------------------------------
  3  จงอธิบายคำศัพท์หรือกลุ่มคำต่อไปนี้  พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
-                     การรวมอำนาจและการแบ่งอำนาจ
-                    การควบคุมบังคับบัญชา
-                    การควบคุมกำกับดูแล
-                    การกระจายอำนาจ
-                    ระบบมณฑลเทศาภิบาล
ธงคำตอบ
หลักการรวมอำนาจ  คือ  หลักการปกครองที่อำนาจในการตัดสินใจทั้งหลายจะอยู่ที่ส่วนกลางทั้งสิ้น  จะไม่มีการมอบอำนาจการตัดสินใจบางระดับบางเรื่องไปให้แก่เจ้าหน้าที่ของส่วนกลางที่ถูกส่งออกไปประจำอยู่ในภูมิภาค  และไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจตัดสินใจในระดับท้องถิ่นเลย  มีการรวมกำลังในการบังคับต่างๆ  เช่น  กำลังทหารและกำลังตำรวจให้ขึ้นตรงต่อส่วนกลางทั้งสิ้น  รวมทั้งมีลำดับขั้นการบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่  ซึ่งมีข้อดีคือ  ทำให้รัฐบาลมั่นคง  แต่มีข้อเสียคือ  เกิดความล่าช้าและขาดประสิทธิภาพในการตัดสินใจในท้องถิ่นห่างไกล  และการตัดสินใจย่อมทำได้ไม่ตรงกับความต้องการของท้องถิ่น  เนื่องจากผู้ตัดสินใจมิใช่คนของท้องถิ่นจึงไม่อาจรู้ถึงความต้องการของคนในท้องถิ่นเท่าที่ควร
หลักการแบ่งอำนาจ  คือ  หลักการที่รัฐมอบอำนาจในการตัดสินใจบางประการของรัฐในส่วนกลางให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นตัวแทนองรัฐ  แต่ไปปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ในแต่ละท้องที่การปกครอง  โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในระบบบังคับบัญชาของการปกครองส่วนกลางอยู่ตลอดเวลา  เช่น  ผู้ว่าราชการจังหวัด  นายอำเภอ เป็นตัวแทนของกระทรวงมหาดไทย  ศึกษาธิการจังหวัด  ป่าไม้จังหวัด  สรรพากรจังหวัด  ฯลฯ  เป็นตัวแทนของกระทรวง  ทบวง  กรมต่างๆในส่วนกลาง  เป็นต้น  โดยเจ้าหน้าที่เหล่านี้ต้องรับคำสั่งจากส่วนกลางเพื่อไปปฏิบัติตามแผนและนโยบายที่ส่วนกลางได้ให้ไว้  เพียงแต่เจ้าหน้าที่เหล่านี้อาจมีอำนาจตัดสินใจในบางเรื่องบางระดับโดยไม่ต้องส่งเรื่องเข้ามาขออนุญาต  อนุมัติจากส่วนกลางเพื่อความสะดวกเท่านั้นเอง
และในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย  ได้นำหลักการรวมอำนาจมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางโดยแบ่งราชการออกเป็น  กระทรวง  ทบวง  กรม  ฯลฯ  และนำหลักการแบ่งอำนาจมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค  โดยแบ่งราชการออกเป็นจังหวัด  อำเภอ  รวมตลอดถึงตำบลและหมู่บ้าน  โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าในส่วนภูมิภาค
การควบคุมบังคับบัญชา  คือ  อำนาจที่หัวหน้าหน่วยงานใช้ปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา  เช่น  การที่รัฐมนตีใช้อำนาจบังคับบัญชาเหนือเจ้าหน้าที่ทั้งหลายในกระทรวง  อำนาจบังคับบัญชาเป็นอำนาจที่ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการใดๆก็ได้ตามที่ตนเห็นว่าเหมาะสม  สามารถกลับ  แก้  ยกเลิก  เพิกถอนคำสั่ง  หรือ  การกระทำของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้เสมอ  เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น อย่างไรก็ตาม  การใช้อำนาจบังคับบัญชานี้ก็ต้องชอบด้วยกฎหมาย  ไม่ใช่ว่าจะใช้ไปในทางที่เหมาะสมแต่ขัดต่อกฎหมายได้  ซึ่งการควบคุมบังคับบัญชานี้  เป็นลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคของคนไทยนั่นเอง
การควบคุมกำกับดูแล  คือ  การควบคุมที่ไม่ใช่เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา  แต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรควบคุมกำกับ  จึงเป็นอำนาจที่มีเงื่อนไข  คือ  จะใช้ได้ต่อเมื่อกฎหมายให้อำนาจไว้และต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด  ในการควบคุมกำกับนั้น  องค์กรควบคุมกำกับไม่มีอำนาจสั่งการให้องค์กรภายใต้การควบคุมกำกับปฏิบัติตามที่ตนเห็นสมควร องค์กรภายใต้การควบคุมกำกับย่อมมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย  ดังนั้นองค์กรควบคุมจึงเป็นแต่ควบคุมกำกับให้องค์กรภายใต้การควบคุมกำกับปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น  ซึ่งการควบคุมกำหับดูแลนี้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับส่วนท้องถิ่นของไทยนั่นเอง    
หลักการกระจายอำนาจ  เป็นวิธีการที่รัฐมอบอำนาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรอื่นนอกจากองค์กรของส่วนกลาง  ซึ่งองค์กรเหล่านี้มีฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง  และสามารถดำเนินการบริการสาธารณะได้โดยอิสระ  มีงบประมาณและเจ้าหน้าที่ของตนเอง  มีความเป็นอิสระในการจัดทำบริการสาธารณะที่ได้รับมอบหมาย  โดยไม่ต้องขอรับคำสั่งจากส่วนกลาง  ส่วนกลางเพียงแต่คอยกำกับดูแลให้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยถูกต้องเท่านั้น  มิได้เข้าไปบังคับบัญชาหรืออำนวยการเอง และประเทศไทยได้นำหลักการกระจายอำนาจมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น  ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน ได้แก่  เทศบาล  องค์การบริหารส่วนตำบล  องค์การบริหารส่วนจังหวัด  กรุงเทพมหานคร  และเมืองพัทยา
ระบบมณฑลเทศาภิบาล  คือ  ระบบแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เป็นการปกครองโดยลักษณะที่จัดให้มีหน่วยราชการบริหารอันประกอบด้วย ตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นที่ ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์  รับแบ่งภาระของรัฐบาลซึ่งประจำอยู่แต่เฉพาะในราชธานี  (ส่วนกลาง)  นั้นออกไปดำเนินการ  (ไปทำหน้าที่แทนรัฐบาลกลาง)  ในส่วนภูมิภาคของประเทศซึ่งอยู่ห่างไกลจากรัฐบาลซึ่งอยู่ในราชธานีให้ได้ใกล้ชิดกับอาณาประชากร  เพื่อให้เขาได้รับความร่มเย็นเป็นสุขและเกิดความเจริญทั่วถึงกัน  โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ  จึงแบ่งเขตปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นชั้นอันดับดังนี้คือ  ใหญ่ที่สุดเป็นมณฑล  รองถัดลงไปเป็นเมือง  (หรือจังหวัด)  รองไปอีกเป็นอำเภอ ตำบล  และหมู่บ้าน  มีการจัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทำนองการของกระทรวง  ทบวง  กรม  ในราชธานี  และจัดสรรข้าราชการที่มีความรู้สติปัญญา  ความประพฤติดี  ให้ไปประจำทำงานตามตำแหน่งหน้าที่  มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่เป็นมาแต่ก่อน  โดยมีการกำหนดข้าราชการผู้รับผิดชอบ  ดังนี้คือ
(1)    มณฑล  ให้ข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้รับผิดชอบ
(2)   เมือง  ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ
(3)   อำเภอ  ให้นายอำเภอเป็นผู้รับผิดชอบ
(4)   ตำบล  ให้กำนันเป็นผู้รับผิดชอบ
(5)   หมู่บ้าน  ให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ
-------------------------------------------------------/***********************--------------------------------------------------------

ข้อ  1  จงอธิบายความสัมพันธ์ของการควบคุมบังคับบัญชากับการกำกับดูแลว่ามีความเกี่ยวข้องอย่างไรต่อการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย
ธงคำตอบ
ความสัมพันธ์ของการควบคุมบังคับบัญชา  กับการกำกับดูแลมีความเกี่ยวข้องต่อการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย  ดังนี้คือ
การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของไทย  ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน  พ.ศ.2534  แบ่งออกเป็น  3  ส่วน  คือ  ราชการส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาค  และส่วนท้องถิ่น
ราชการส่วนกลาง  ประกอบด้วย  กระทรวง  ทบวง  กรม  เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการในรูปแบบการรวมอำนาจ  โดยการปกครองแบบนี้อำนาจในการตัดสินใจทั้งหลายจะอยู่ที่ส่วนกลางทั้งสิ้น  มีการรวมกำลังในการบังคับต่างๆ  ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง และมีลำดับขั้นการบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจน
ราชการส่วนภูมิภาค  ประกอบด้วย  จังหวัด  อำเภอ  กิ่งอำเภอ  ตำบล  หมู่บ้าน เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการในรูปแบบการแบ่งอำนาจ  ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองที่ส่วนกลางมอบอำนาจตัดสินใจบางประการให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนภูมิภาค  โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในบังคับบัญชาของส่วนกลางตลอดเวลา
ราชการส่วนท้องถิ่น  ประกอบด้วย  อบจ.  อบต.  เทศบาล  พัทยา  และกรุงเทพมหานคร  เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการในรูปแบบการกระจายอำนาจ  โดยรัฐจะมอบอำนาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรอื่นที่ไม่ใช่องค์กรส่วนกลาง  หรือส่วนภูมิภาค  เพื่อจัดทำบริการสาธารณะบางอย่าง  โดยจะมีอิสระตามสมควรไม่ต้องขึ้นอยู่ในการบังคับบัญชาของส่วนกลาง  เพียงแต่ขึ้นอยู่ในการกำกับดูแลเท่านั้น
การควบคุมบังคับบัญชา  คือ  อำนาจที่หัวหน้าหน่วยงานใช้ปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา  เช่น  การที่รัฐมนตีใช้อำนาจบังคับบัญชาเหนือเจ้าหน้าที่ทั้งหลายในกระทรวง อำนาจบังคับบัญชาเป็นอำนาจที่ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งการใดๆก็ได้ตามที่ตนเห็นว่าเหมาะสม  สามารถกลับ  แก้  ยกเลิก  เพิกถอนคำสั่ง  หรือ  การกระทำของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้เสมอ  เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะเป็นประการอื่น  อย่างไรก็ตาม  การใช้อำนาจบังคับบัญชานี้ก็ต้องชอบด้วยกฎหมาย  ไม่ใช่ว่าจะใช้ไปในทางที่เหมาะสมแต่ขัดต่อกฎหมายได้  ซึ่งการควบคุมบังคับบัญชานี้  เป็นลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคของคนไทยนั่นเอง
การควบคุมกำกับดูแล  คือ  การควบคุมที่ไม่ใช่เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา  แต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรควบคุมกำกับ  จึงเป็นอำนาจที่มีเงื่อนไข  คือ  จะใช้ได้ต่อเมื่อกฎหมายให้อำนาจไว้และต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด  ในการควบคุมกำกับนั้น  องค์กรควบคุมกำกับไม่มีอำนาจสั่งการให้องค์กรภายใต้การควบคุมกำกับปฏิบัติตามที่ตนเห็นสมควร องค์กรภายใต้การควบคุมกำกับย่อมมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย  ดังนั้นองค์กรควบคุมจึงเป็นแต่ควบคุมกำกับให้องค์กรภายใต้การควบคุมกำกับปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น  ซึ่งการควบคุมกำหับดูแลนี้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับส่วนท้องถิ่นของไทยนั่นเอง
---------------------------------------------------------////////////////////////////---------------------------------------------------
ข้อ  2  การควบคุมการใช้อำนาจรัฐ  คือ  การควบคุมสิ่งใด  และที่ว่าดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  หมายถึงอะไร  จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ธงคำตอบ
การควบคุมการใช้อำนาจรัฐ  หมายถึง  การควบคุมการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ  องค์กรของรัฐ  หน่วยงานของรัฐนั่นเอง  ซึ่งการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ  มีได้  2  รูปแบบ  คือ
1.      อำนาจผูกพัน   คือ  อำนาจหน้าที่ที่องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐต้องปฏิบัติเมื่อมีข้อเท็จ จริงอย่างใด ๆ เกิดขึ้นตามที่กฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ได้บัญญัติกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังนี้ องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐจะต้องออกคำสั่ง และคำสั่งนั้นต้องมีเนื้อความเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น เรื่องการร้องขอจดทะเบียนสมรสเมื่อชายและหญิงผู้ร้องขอมีคุณสมบัติครบถ้วน และปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการสมรสที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์แล้ว นายทะเบียนครอบครัวจะต้องทำการจดทะเบียนสมรสให้แก่ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนสมรส เสมอ เป็นต้น 

2.    
 อำนาจดุลพินิจ  อำนาจดุลพินิจแตกต่างกับอำนาจผูกพันข้างต้น  กล่าวคือ อำนาจดุลพินิจเป็นอำนาจที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติ หรือองค์กรฝ่ายปกครองของรัฐสามารถเลือกตัดสินใจออกคำสั่งหรือสั่งการใดๆ ได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ เพื่อให้บรรลุผลตามความมุ่งหมาย หรือเจตนารมณ์ของกฎหมาย  กล่าวอีกอย่างหนึ่ง อำนาจดุลพินิจ ก็คือ อำนาจที่กฎหมายเปิดช่องให้องค์กรฝ่ายปกครองของรัฐมีอิสระในการตัดสินใจเมื่อมีเหตุการณ์หรีอมีข้อเท็จจริงใด ๆ กำหนดไว้เกิดขึ้น
เหตุที่ต้องมีการควบคุมการใช้อำนาจรัฐดังกล่าวก็เพราะกฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่ไม่เสมอภาค  รัฐ  หน่วยงานของรัฐ  เจ้าหน้าที่ของรัฐ  มีอำนาจเหนือประชาชนหากไม่มีการควบคุม  เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐอาจใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
การใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  คือ  การที่เจ้าหน้าที่รัฐ  องค์กรของรัฐ  หน่วยงานของรัฐ  กระทำการหรืองดเว้นกระทำการใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย  หรือใช้อำนาจนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมาย  อันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน  ตัวอย่างเช่น
(1)   กระทำการข้ามขั้นตอน  เช่น  ในกรณีกฎหมายบัญญัติให้ก่อนที่รัฐบาลจะดำเนินการเรื่องสำคัญๆ  จะต้องถามความเห็นประชาชนก่อน แต่รัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร  ดำเนินการต่างๆโดยไม่ถามความเห็นของประชาชนก่อน  ซึ่งไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้โต้แย้ง  ถือว่าเป็นการข้ามขั้นตอน  เพราะการนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชน ทำให้ประชาชนเดือดร้อน
(2)  กระทำการโดยปราศจากอำนาจ  เช่น  กฎหมายไม่ได้กำหนดหรือมอบอำนาจและหน้าที่ในการอนุมัติ  อนุญาตให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ  แต่เจ้าพนักงานธุรการผู้นั้นไปดำเนินการอนุมัติ  หรืออนุญาตแทนปลัดอำเภอโดยไม่มีอำนาจ
(3)  กระทำการผิดแบบ  เช่น  การออกคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐบางกรณีกฎหมายบัญญัติให้ออกเป็นหนังสือ  แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐกลับไปออกคำสั่งด้วยวาจา  ย่อมเป็นการทำผิดแบบที่กฎหมายกำหนด (4)  กระทำการนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมาย  เช่น  การที่ผู้บังคับบัญชานำเรื่องการย้ายการโอนมาเป็นการลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชา  เป็นการผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมาย  เพราะเรื่องการย้ายการโอนข้าราชการสร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ต่อตัวข้าราชการเอง  มิใช่สร้างขึ้นมาเพื่อลงโทษแก่ตัวราชการผู้นั้น
(5)  กระทำการโดยการสร้างภาระให้ประชาชน  เช่น  เจ้าหน้าที่ของรัฐไปสร้างภาระด้านค่าใช้จ่ายหรือไปกำหนดให้ประชาชนกระทำการใดๆ  เพื่อเติมโดยไม่มีความจำเป็น
(6)  กระทำการโดยมีอคติหรือไม่สุจริต  เช่น  กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการสั่งปิดโรงงานที่ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำลำคลองได้เพียง 1  เดือน  แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐกลับสั่งปิดโรงงานดังกล่าวถึง  2  เดือน  เพราะเคยมีปัญหาส่วนตัวกันมาก่อน  ย่อมเป็นการใช้อำนาจโดยมีอคติ
และการควบคุมการใช้อำนาจรัฐนั้น  แบ่งออกเป็น  2  รูปแบบ  ได้แก่
1       การควบคุมแบบป้องกัน  หมายถึง  ก่อนที่ฝ่ายบริหารจะได้วินิจฉัยสั่งการหรือก่อนจะมีการกระทำในทางปกครอง  ที่จะไปกระทบต่อสถานภาพทางกฎหมายของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง  หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะมีระบบป้องกันเสียก่อน  กล่าวคือ  มีกฎหมายกำหนดกระบวนการ หรือขั้นตอนต่างๆก่อนที่จะมีคำสั่งออกไป
การควบคุมแบบป้องกัน  จึงเป็นวิธีการที่ช่วยเสริมการควบคุมโดยทางศาล  เพราะฝ่ายปกครองจะต้องระมัดระวังในขั้นตอนการพิจารณาออกคำสั่ง  ทำให้การกระทำของฝ่ายปกครองมีความโปร่งใสและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น  อีกทั้งยังลดคดีที่จะมีไปสู่ศาลอีกทางหนึ่งด้วย
2       การควบคุมแบบแก้ไข  หรือการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจทางปกครอง  หลังการใช้อำนาจทางปกครองไปแล้ว  และเกิดปัญหาจากการใช้อำนาจทางการปกครองนั้นขึ้น  จึงต้องแก้ไขปัญหาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้
วิธีการควบคุมการใช้อำนาจรัฐที่ดีที่สุด  คือ  การควบคุมแบบแก้ไข  (ภายหลัง)  ที่เรียกว่าใช้ระบบตุลาการ  (ศาลคู่)  นั่นคือ  ศาลปกครอง เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะมีระบบการพิจารณาที่ใช้ศาล  และมีกฎหมายรองรับทำให้การพิจารณาพิพากษาเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างยิ่ง  อาทิเช่น  กฎหมายจัดตั้งและวิธีพิจารณาคดีปกครอง  พ.ศ.2542  กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง  พ.ศ.2539  กฎหมายว่าด้วยความรับผิดในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ  พ.ศ.2539
-------------------------------------------------------------////////////////////////////--------------------------------------------------
ข้อ  3  กฎหมายมหาชนคืออะไร  มีความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น  เช่น  รัฐศาสตร์อย่างไร  จงอธิบาย
ธงคำตอบ
ความหมายของกฎหมายมหาชนนั้น  มีผู้ให้คำนิยามไว้หลากหลาย  ทั้งนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศ  รวมทั้งนักกฎหมายของไทย  แต่โดยนัยแห่งความหมายแล้วมีความคล้ายคลึงกัน  ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า
กฎหมายมหาชน  คือ  กฎหมายที่กล่าวกำหนดถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายทั้งหลายเกี่ยวข้องกับ  สถานะและอำนาจ  ของรัฐและ ผู้ปกครอง  รวมทั้งเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและ  ผู้ปกครองกับพลเมือง  ผู้อยู่ใต้ปกครองในฐานะที่รัฐและผู้ปกครองมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมืองซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเอกชน
จากความหมายของกฎหมายมหาชนที่ได้กล่าวมาข้างต้น  จะเห็นได้ว่า  กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญอย่างมาก  เพราะว่าในเรื่องของการปฏิรูปการเมืองการปกครอง  การปฏิรูปทุกๆด้านในประเทศไทยของเราในปัจจุบันนี้  ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ใช้อำนาจของรัฐเข้าไปจัดการแก้ไข  ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเรื่องต่างๆเหล่านี้ให้ดีขึ้น  ประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมืองของรัฐ  จะต้องอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของรัฐ  ซึ่งรัฐที่ปกครองด้วยระบบเสรีนิยมประชาธิปไตยนั้น  จะต้องมีหลักการปกครองที่ยึดหลักการปกครองโดยกฎหมายหรือว่าหลักนิติรัฐ  ดังนั้น  กฎหมายมหาชนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประชาชน  เพราะว่าเรื่องของกฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐ  ซึ่งเป็นไปในลักษณะที่รัฐมีอำนาจเหนือราษฎร  เพราะฉะนั้นประชาชนจึงเกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชนด้วย  เพราะประชาชนจะอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐนั่นเอง
กล่าวโดยสรุป
 กฎหมายมหาชนนั้น  จะต้องเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงสถานะและอำนาจของรัฐ
กฎหมายมหาชนนั้น  จะต้องเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมือง
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและผู้ปกครองกับพลเมืองนั้น  จะมีลักษณะที่รัฐมีเอกสิทธิ์ทางปกครองเหนือพลเมือง  ซึ่งเป็นเอกชนและอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐ
ส่วนรัฐศาสตร์นั้น  คือ  ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของรัฐ  อำนาจ  และการปกครอง  รัฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรัฐ  กำเนิด  และวิวัฒนาการของรัฐ  รัฐในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  และยังศึกษาถึงองค์การทางการเมือง  สถาบันทางการปกครอง  ตลอดจนอำนาจในการปกครองรัฐ  วิธีการดำเนินการต่างๆของรัฐ  รวมทั้งแนวความคิดทางการปกครองและทางการเมืองในรัฐด้วย
จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า  รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวกับรัฐโดยทั่วไป  แต่โดยที่รัฐบัญญัติกฎหมาย  และกฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่จะนำไปใช้รักษาความสงบเรียบร้อยภายในรัฐ  ทำนุบำรุงให้ราษฎรมีความสุข  ดังนั้น
กฎหมายมหาชนและรัฐศาสตร์จึงเป็นศาสตร์สองศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก  เพราะกฎหมายมหาชนจะศึกษาเรื่องรัฐ  อำนาจรัฐ รัฐธรรมนูญ  และศึกษาสถาบันการเมืองของรัฐ  มีเนื้อหาเน้นการศึกษาทางทฤษฎี  แนวความคิดในเรื่องรัฐอยู่มาก  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกฎหมายกับรัฐศาสตร์เป็นอย่างดี  เห็นได้จากการศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญ  และการศึกษาเกี่ยวกับสถาบันการเมืองของรัฐก็ต้องเกี่ยวข้องกับรัฐศาสตร์  แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายมหาชนยังต้องศึกษาในด้านนิติศาสตร์อยู่อีกมาก  ศึกษาบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่เป็นการศึกษาทางรัฐศาสตร์ล้วนๆ
------------------------------------------------------/////////////////--------------------------------------------------------------------
ข้อ  2  จงทำตามคำสั่งต่อไปนี้
ก)      กฎหมายมหาชนเกี่ยวข้องกับตัวนักศึกษาอย่างไร  พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ข)     จงบอกความแตกต่างระหว่างระบบศาลเดี่ยวและระบบศาลคู่ในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐมาโดยละเอียด

ธงคำตอบ

ก)     กฎหมายมหาชน  คือ  กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ  แก่หน่วยงานทางปกครองหรือหน่วยงานของรัฐและแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในทางปกครองและการบริการสาธารณะ  เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่  ในฐานะที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจเหนือผู้ใต้ปกครอง

กฎหมายปกครอง  เป็นกฎหมายที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองของรัฐในทางปกครองที่เรียกว่า  การจัดระเบียบราชการบริหาร”  รวมทั้งการวางระเบียบเกี่ยวกับกิจกรรมของฝ่ายปกครองที่เรียกว่า  บริการสาธารณะ”  ซึ่งฝ่ายปกครองจัดทำเพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน
นอกจากนี้ยังกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า  กฎหมายปกครอง  เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองแก่หน่วยงานปกครอง  และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการออกคำสั่งปกครอง  ให้อำนาจในการออกกฎ  ให้อำนาจในการกระทำทางปกครองและสัญญาทางปกครอง
หน่วยงานปกครอง  ได้แก่  หน่วยงานในราชการบริหารส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาค  ส่วนท้องถิ่น  รัฐวิสาหกิจ  และหน่วยงานอื่นๆที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง  รวมถึงหน่วยงานเอกชนที่ใช้อำนาจหรือได้รับสอบให้ใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย  เช่น  สำนักงานรังวัดเอกชน  สถานที่ตรวจสภาพรถยนต์  สภาทนายความ ฯลฯ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ  ได้แก่  บุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้ใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในทางปกครองของรัฐ  ได้แก่  ข้าราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่  ลูกจ้าง  คณะบุคคล  หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง  ฯลฯ
การสมัครเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ  ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองก็จะต้องดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับของทางมหาวิทยาลัยฯ  ซึ่งระเบียบหรือข้อบังคับของทางมหาวิทยาลัยฯนั้นถือว่าเป็น  กฎ”  ที่ทางมหาวิทยาลัยฯ  สามารถออกมาบังคับใช้กับนักศึกษาได้โดยอาศัยอำนาจตาม  พ.ร.บ.  มหาวิทยาลัยรามคำแหง  ซึ่งเป็นกฎหมายปกครองและกฎหมายมหาชนนั่นเอง  และถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรือกฎดังกล่าว  เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยฯซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็มีอำนาจสั่งไม่รับบุคคลนั้นเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯก็ได้  ซึ่งคำสั่งดังกล่าวของเจ้าหน้าที่นั้นถือว่าเป็น  คำสั่งทางปกครอง”  ซึ่งเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งนั้นได้ตามกฎหมายดังกล่าว
ในการเข้ารับฟังการบรรยายของท่านอาจารย์  การบรรยายของท่านอาจารย์ (การสอน) ถือว่าเป็น  การกระทำทางปกครอง”  ประเภทหนึ่งที่เรียกกันว่า  ปฏิบัติการทางปกครอง”  และการบรรยายของท่านอาจารย์ดังกล่าวก็เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กฎหมายคือ  พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง  ได้กำหนดไว้  และคำสั่งของอธิการบดีที่สั่งให้อาจารย์แต่ละท่านบรรยายวิชาต่างๆนั้น  ถือว่าเป็น  คำสั่งทางปกครอง”  ซึ่งอธิการบดีมีอำนาจออกคำสั่งได้โดยอาศัยตามกฎหมายดังกล่าว
นอกจากนั้นในการสอบแต่ละวิชา  การประกาศผลสอบของมหาวิทยาลัยฯหรือเมื่อนักศึกษาได้ทำการศึกษาจนจบหลักสูตร  มหาวิทยาลัยฯออกปริญญาบัตรให้แก่นักศึกษา  การประกาศผลสอบและการออกปริญญาบัตรให้แก่นักศึกษาดังกล่าว  ก็ถือว่าเป็นการออก  คำสั่งทางปกครอง”  ซึ่งเป็นการใช้อำนาจปกครองตามที่  พ.ร.บ.  มหาวิทยาลัยฯ  ซึ่งเป็นกฎหมายปกครองและกฎหมายมหาชนได้กำหนดไว้นั่นเอง
ข)      ในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ  ในระบบศาลเดี่ยวและระบบศาลคู่  มีความแตกต่างกันดังนี้คือ
ระบบศาลเดี่ยว  หมายความว่า  ศาลยุติธรรมเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีทั้งหลายทั้งปวง  ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง  คดีอาญา  คดีปกครอง  โดยศาลจะนำหลักกฎหมายธรรมดา  (กฎหมายเอกชน)  มาปรับแก่คดี  ไม่ว่าคดีนั้นจะเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน  หรือเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน  ทั้งนี้เนื่องมาจากในประเทศที่มีระบบศาลเดี่ยวนั้น  จะไม่มีการแยกระหว่างกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบศาลเดี่ยวคือสหรัฐอเมริกา  เป็นต้น
ระบบศาลคู่  หมายความว่า  ระบบการควบคุมฝ่ายปกครองทางศาลที่มีศาลพิเศษแยกต่างหากจากศาลยุติธรรม  กล่าวคือ  เป็นระบบการควบคุมฝ่ายปกครองที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น  ส่วนการวินิจฉัยขี้ขาดคดีปกครองนั้นให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง  ซึ่งมีระบบศาลและระบบผู้พิพากษาแยกต่างหากจากระบบศาลยุติธรรม  ตัวอย่างเช่น  ประเทศฝรั่งเศส  เบลเยียม  สวีเดน  ฟินแลนด์  ไทย  เป็นต้น