วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

แนวข้อสอบ Pol2301 ธงคำตอบPol2301 ภูมิภาค

แนวคำตอบ pol2301 องค์การและการจัดการภาครัฐ


1.ตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์การ (หลัก 5 E)

ปัจจัยที่เป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จขององค์การสาธารณะ ซึ่งเราเรียกกันว่าหลัก 5 E นั้นได้แก่
1.ประสิทธิภาพ Efficiency ในการบริหาร จะหมายถึงการเปรียบเทียบเพื่อหาอัตราส่วนหรือสัดส่วน ระหว่างผลที่ได้จาก
การบริหารกับทรัพยากรที่ใช้ในการบริหาร
2.ประสิทธิผล Effectiveness จะหมายถึง การดำเนินงานได้ตามแผนที่กำหนด แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการ
บริหารงานตามแผนที่กำหนด และยังหมายรวมถึงความสำเร็จของผลงานในระยะต่าง ๆ ตามแผนหรือตามประมาณการที่
กำหนดไว้ เช่นได้ผลตามมาตรฐานที่กำหนดในระยะเวลาที่ประมาณการไว้ และในระยะยาวชุมชนมีการพัฒนาตามประมาณ
การที่ได้วางเอาไว้
3.ความเสมอภาคเท่าเทียม Equality
4.ความยุติธรรม Equity
5.ความสำคัญแก่สิ่งแวดล้อม Ecology

2 Hygiene Theory (ทฤษฎีแรงจูงใจของ Herzberg)

ตอบ Hygiene Factors หมายถึง ปัจจัยเมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างให้เกิดความไม่พึง
พอใจในการปฏิบัติงานขึ้นได้ ปัจจัยประเภทนี้ถ้าขาดหรือบกพร่องไปจะก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจขึ้นได้ แต่ถ้าหากไม่ขาด
ไม่บกพร่องก็ไม่ได้สร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งปัจจัยพวกนี้จะเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่
- นโยบายและการบริหารงาน
- เทคนิคและการควบคุมงาน
- เงินเดือน
- ความสัมพันธ์ภายในต่อผู้บังคับบัญชา
- สภาพการทำงาน

3. Primary Organization

องค์การเบื้องต้นหรือองค์การปฐมภูมิ Primary Organization เป็นองค์การที่เพิ่งจะกำเนิดขึ้นมา ยังไม่มีการระบุอำนาจ
หน้าที่ และโครงสร้างขององค์การไว้ชัดเจนนัก บุคคลที่เข้ามาอยู่ในองค์การจัดเป็นพวกผู้ก่อตั้ง ความสัมพันธ์ภายใน
องค์การมีลักษณะของความสัมพันธ์โดยตรงค่อนข้างมาก มีการคำนึงถึงสายการบังคับบัญชา ลักษณะขององค์การมีความ
ไม่เป็นทางการมาก และผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์การเป็นอย่างดี เข้ามาทำงานโดยมีวัตถุประสงค์
ร่วมกัน

1. เงื่อนไขของการเกิดองค์การ
ตอบ ๑. มีบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปเข้าทำงานร่วมกัน
๒. มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน
๓. มีกิจกรรมหรือปฏิสัมพันธ์ร่วมกันทั้งในลักษณะที่เป็นทางการและไม่เป็น
ทางการ
๔. มีรูปแบบความสัมพันธ์ภายในอันเกิดจากการจัดสรรทรัพยากรในการ
บริหาร

2. Unity of Command
ตอบ Unity of Command หมายถึง บุคคลทุกๆคนภายในองค์กรจะต้องรับคำสั่งและ
รับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาผู้เดียว

3. Equality and Equity
ตอบ หลักความเสมอภาคและหลักความเป็นธรรม ทุกองค์การจะต้องมีสิทธิความเสมอภาคและความเป็นธรรมภายใต้กก
เกณฑ์ที่วางไว้

Hierarchy of Needs ( A.H. Maslow)
ตอบ การศึกษาระดับความต้องการของมนุษย์ แบ่งออกเป็น ๕ ระดับ
๑. ความต้องการทางกายภาพ
๒. ความต้องการทางความปลอดภัยในชีวิต
๓. ความต้องการจะเข้าร่วมสังคม
 ๔. ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในหน้าที่
การงาน
๕. ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในชีวิต

1.Efficiency and Effectiveness คืออะไร ต่างกันอย่างไร

ตอบ Efficiency หมายถึง การเปรียบเพื่อหาอัตราส่วน หรือสัดส่วนระหว่างผลที่ได้จากการบริหารกับทรัพยากรที่ใช้ใน
การบริหาร
Effectiveness หมายถึง การดำเนินงานได้ตามแผนที่กำหนด แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารตามแผนที่กำหนด และยังรวมถึงความสำเร็จของผลงานในระยะต่างๆตามแผนหรือตามประมาณการที่กำหนดไว้
ความแตกต่างกันคือ ประสิทธิภาพนั้นเน้นที่การลงทุนน้อยและต้องได้ผลคุ้มค่าแต่ประสิทธิผลนั้นที่ผลลัพธ์มากกว่าต้นทุนความแตกต่างกันคือ ประสิทธิภาพนั้นเน้นที่การลงทุนน้อยและต้องได้ผลคุ้มค่าแต่ประสิทธิผลนั้นที่ผลลัพธ์มากกว่าต้นทุน
แต่การทำงานประสิทธิภาพและประสิทธิผลต้องสัมพันธ์กันขาดกันไม่ได้

๒. Operation Research and Management Science คืออะไร ต่างกันอย่างไร

ตอบ Operation Research คือ การวิจัยดำเนินงาน หรือ OR เกี่ยวข้องกับการทดลองและประยุกต์เพื่อที่จะให้เรา
สังเกต เข้าใจ และทำนายพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการทำงานในองค์การ โดยสมาคมนักวิจัยของสหรัฐได้ให้ความหมาย
ของ Operation Research หรือ OR ไว้ว่า เป็นวิชาซึ่งเกี่ยวข้องกับการทดลองและประยุกต์ ทั้งนี้เพื่อที่จะให้เราสามารถสังเกต เข้าใจและคาดเดาพฤติกรรมอันเนื่องจากการทำงานในองค์การและผู้ที่ศึกษาถึง OR จะต้องนำเอาความรู้ดังกล่าวไปใช้แก้ปัญหาให้กับหน่วยงานทางธุรกิจ รัฐบาลและสังคม
Management Science คือ วิทยาการบริหาร หรือ MS เป็นการศึกษาและพัฒนาความรู้รวมทั้งเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ในการบริหาร คล้ายคลึงกันในสาระของการศึกษา ต่างกัน คือ OR มีวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาขององค์การ ส่วน MS เป็นการศึกษาและพัฒนาความรู้ รวมทั้งเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการบริหาร

๓. Hygiene Factor คืออะไร แตกต่างจาก Motivator Factors อย่างไร

ตอบ Hygiene Factor หมายถึง ปัจจัยเมื่อพนักงานในองค์การไม่ได้รับการตอบสนองแล้วจะสร้างให้เกิดความไม่พึง
พอใจในการปฏิบัติงานขึ้นได้ ปัจจัยประเภทนี้ถ้าขาดหรือบกพร่องไปจะก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจขึ้นได้ แต่ถ้าหากไม่ขาด
ไม่บกพร่องก็ไม่ได้สร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน แม้จะเพิ่มปัจจัยจำพวกนี้ก็ไม่เป็นผลทำให้พนักงานมีความพึง
พอใจและกระตือรือร้นที่จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาวขึ้นได้
Motivator Factors หมายถึงปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้ว จะสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน และเป็นผลทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่
ความแตกต่างคือ Hygiene Factor เป็นปัจจัยที่เมื่อพนักงานไม่ได้รับการตอบสนองก็จะทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในการทำงานตรงกันข้ามกับ Motivator Factors คือปัจจัยที่พนักงานได้รับการตอบสนองแล้วสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน

๔. องค์กรมีกี่ประเภท อะไรบ้าง อธิบาย

ตอบ การจำแนกประเภทขององค์การ อาจพิจารณาได้หลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการพิจารณาสามารถ
แบ่งได้ 5 ประเภทใหญ่ ดังนี้
1.ประเภทขององค์การเมื่อพิจารณาจากความเป็นเจ้าของ
2.ประเภทขององค์การเมื่อพิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
3.ประเภทขององค์การเมื่อพิจารณาจากหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากร
4. ประเภทขององค์การเมื่อพิจารณาจากกำเนิดขององค์การ
.5.ประเภทขององค์การเมื่อพิจารณาจากโครงสร้างและความสัมพันธ์ภายในเป็นเกณฑ์

๕. Hawthorne Experiment ของ mayo มีสาระสำคัญอย่างไร

ตอบ Hawthorne Experiment เป็นการทดลองเพื่อสำรวจหาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางกายภาพเช่นความเข้มของแสงสว่างและเงื่อนไขทางกายภาพในการทำงานอื่นๆกับผลิตภาพในการทำงาน ทำให้สรุปได้ว่าการทดลองโดยให้กลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่มที่กลุ่มหนึ่งได้รับการปรับเปลี่ยนสภาพที่เปลี่ยนไปกับการอยู่กับสภาพแวดล้อมคงที่ต่างไม่ยอมแพ้ซึ่งกันละกันทำให้ทั้งสองกลุ่มมีผลงานเพิ่มขึ้น

(6) กระบวนการในการตัดสินใจในองค์การ ( Decision Making Process )

ตอบ จากความพยายามที่จะกำหนดรูปแบบของกระบวนการในการตัดสินใจที่สมบูรณ์ ต้องประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญ 6ประการ คือ
1.ลักษณะพื้นฐานทางธรรมชาติ
2.ผู้ทำการตัดสินใจ
3.เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
4.ทางเลือกที่เกิดขึ้น และกระบวนการในการทำงานซึ่งเป็นผลมาจากทางเลือก
5.ความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดความพึงพอใจเมื่อเลือกทางเลือกอื่นๆ
6.ทางเลือกที่ได้เลือกแล้วอาจเป็นทางเลือกเดียว หรือเป็นการรวมทางเลือกหลายๆทางเข้าด้วยกัน
นอกจากนี้อาจแบ่งกระบวนการในการตัดสินใจได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ
1.ขั้นตอนของการประมวลข่าวสาร หรือขั้นตอนการสร้างภูมิปัญญา เป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาข้อมูลข่าวสารจากสภาพแวดล้อม เพื่อที่จะหาเงื่อนไขที่ดีประกอบการตัดสินใจ
2.ขั้นตอนของการสร้าง พัฒนา วิเคราะห์ เป็นขั้นตอนของการหารูปแบบที่เหมาะสมในการดำเนินงาน เป็นขั้นตอนของการออกแบบหรือกำหนดรูปแบบในการดำเนินการ
3.ขั้นตอนของการเลือกรูปแบบที่เหมาะสม เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดที่จะใช้ในการดำเนินงาน

๖. Bureaucratic Model ของ max weber มีรายละเอียดอย่างไร
ตอบ Bureaucratic Model หมายถึง องค์การขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยโครงสร้างของการบริหารที่ซับซ้อน มีสายการบังคับบัญชา มีการแบ่งแยกหน้าที่กันทำงาน มีการระบุถึงอำนาจหน้าที่ของตำแหน่งต่างๆ มีระบบการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง และมีความสัมพันธ์ภายในที่เป็นทางการ
ระบบราชการประกอบด้วยบุคคลจำนวนมากที่เข้ามาทำงานร่วมกัน โดยอาศัยระเบียบวินัยและกฎเกณฑ์ขององค์การเป็นตำแหน่ง และมีความสัมพันธ์ภายในที่เป็นทางการ
ระบบราชการประกอบด้วยบุคคลจำนวนมากที่เข้ามาทำงานร่วมกัน โดยอาศัยระเบียบวินัยและกฎเกณฑ์ขององค์การเป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกัน ดังนั้นระบบราชการจึงมักมีการทำงานที่ล่าช้า หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ และมีอิทธิพลเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนการทำงาน

๗. หน้าที่หรือกิจกรรมที่นักบริหารจะต้องทำ Administrative functions
Gulick ได้เสนอกิจกรรมของการบริหารเป็น 7 ส่วนคือ POSDCORB
1. Planning การวางแผน
2. Organization การจัดรูปงานหรือจัดโครงสร้างขององค์การ
3. Staffing การบรรจุบุคคลเข้าทำงาน
4. Directing การสั่งการ
5. Coordinating การประสานงาน
6. Reporting การจัดทำรายงาน
7.Budgeting การจัดทำงบประมาณ

๒. จงแสดงรายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้

๒.๑ยกตัวอย่างทฤษฏีองค์การยุคคลาสสิกมา ๒ ทฤษฏีและอธิบายความสำคัญของทฤษฏีนั้น

1) ทฤษฎีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (The Scientific Management)
มีบุคคลที่เป็นแกนนำสำคัญ และเป็นผู้วางรากฐานของทฤษฎี คือ เฟรดเดอริก เทเลอร์ เขาเสนอให้เห็นว่า จุดเน้นที่สำคัญของทฤษฎี (focus) คือ การสร้างประสิทธิภาพ การทำงานอย่างมีความเป็นเหตุเป็นผลของพนักงานในระดับปฏิบัติการในองค์การ เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน

2) ทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theory)
เป็นการนำเสนอตัวแบบทฤษฎีองค์การตามทัศนะของ เฮนรี ฟาโยล (Henri Fayol) ที่มีจุดเน้นความเป็นเหตุเป็นผลในการบริหารงานของผู้บริหารระดับสูงขององค์การ (Top Management) โดยเสนอแนะให้เห็นว่าผู้บริหารมีภารกิจที่สำคัญในการบริหารงานอย่างไร

๒.๒ จงระบุถึง “ระบบขององค์การ” เมื่อใช้แนวคิดเชิงระบบพิจารณา(A Systems Approach)

ตอบ การศึกษาองค์การและการบริหารได้พัฒนามากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะผลจากการศึกษาองค์การในเชิงพฤติกรรมศาสตร์ และการศึกษาการบริหารในเชิงปริมาณทำให้เกิดการนำเอาวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการบริหารโดยการนำเอาความรู้ซึ่งได้มาจากการศึกษาในเชิงพฤติกรรมและวิทยาการบริหารสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการพัฒนา มีการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ และสังคม เพื่อนำเข้ามาปรับใช้องค์การเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพวิธีการศึกษาองค์การและการบริหารในช่วงระยะเวลาดังกล่าว จึงมีลักษณะที่ครอบคลุมไปทุก ๆ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์การและการบริหาร ไม่ได้เน้นเฉพาะอยู่ที่ศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง ในช่วงนี้ถือว่าปัจจัยที่ประกอบเข้าด้วยกันเป็นระบบขององค์การหนึ่ง ๆ นั้น ต่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน สามารถส่งผลกระทบถึงกันได้ และต้องมีระบบเฉพาะภายในของมันเอง ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันอกไปจากปัจจัยชนิดอื่น ๆ แนวความคิดในการศึกษาองค์การในลักษณะดังกล่าวเรียกได้ว่า เป็นการนำเอา “ทฤษฎีระบบ” เข้ามาใช้ในองค์การ

๓. สิ่งแวดล้อมสำคัญต่อองค์การอย่างไร และให้ยกตัวอย่างสิ่งแวดล้อมทางการเมืองของระบบราชการ

ตอบ สิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อองค์การเป็นอย่างมากไม่มีองค์การหรือหน่วยงานใดที่ดีหรือเหมาะสมที่สุดในทุกสภาวะแวดล้อม องค์การที่ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าหากองค์การนั้นอยู่ในสภาวะแวดล้อมอื่นๆ ที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การที่องค์การหนึ่งจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จำเป็นจะต้องมีการปรับสภาพขององค์การให้เข้ากันได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยเหตุนี้องค์การในฐานะระบบจะอยู่นิ่งเฉยโดยปราศจากการเคลื่อนไหวไม่ได้ องค์การจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของตนอยู่ตลอดเวลา
สิ่งแวดล้อมทางการเมืองของระบบราชการนั้นประกอบด้วย
๑. สาธารณะชนทั่วไป          ๔. ฝ่ายนิติบัญญัติ
๒. ผู้รับบริการสาธารณะ       ๕. ผู้บริหารระดับสูง
๓. สื่อมวลชน                       ๖. กระบวนการยุติธรรม

๓. ให้นักศึกษาอธิบายว่า “การมอบอำนาจหน้าที่ในองค์การ” มีความหมายว่าอย่างไร และมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในองค์การอย่างไรบ้าง

ตอบ การมอบอำนาจหน้าที่ในองค์การ หมายถึง การที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบบางประการให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ในทางปฏิบัติผู้บังคับบัญชามักจะมอบอำนาจหน้าที่แก้หัวหน้างานระดับรองลงไป การมอบอำนาจที่นี้จะมอบให้บุคคลเดียวหรือหลายคนก็ได้ มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในองค์การดังนี้คือ

๑. ทำให้การปฏิบัติงานในรูปองค์การสามารถดำเนินไปโดยสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
๒. ช่วยลดภาระผู้บริหาร
๓. ช่วยในการพัฒนาและฝึกฝนผู้ใต้บังคับบัญชา
๒. ช่วยลดภาระผู้บริหาร
๓. ช่วยในการพัฒนาและฝึกฝนผู้ใต้บังคับบัญชา
๔. ช่วยสร้างขวัญกำลังใจผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
๕. ช่วยให้มีการเตรียมตัวให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถเลื่อนตำแหน่ง หรือปฏิบัติงานแทนผู้บังคับบัญชาได้

(2) อธิบายว่า 'อำนาจหน้าที่' และ 'ความรับผิดชอบ' มีความสัมพันธ์กัน

ตอบ ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ และอำนาจหน้าที่ควรจะมีควบคู่กับความรับผิดชอบ และเมื่อผู้ใดได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบต่องานใดงานหนึ่ง ผู้นั้นก็ควรจะได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่เพียงพอที่จะใช้ปฏิบัติงานนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างดี

2.1 เปรียบเทียบทฤษฎีองค์การยุคมนุษยสัมพันธ์และทฤษฎีองค์การยุคคลาสสิก
ตอบ ทฤษฎีองค์การยุคมนุษยสัมพันธ์
-สนใจลักษณะของบุคคลในองค์การ ทั้งบุคลิกภาพ การรับรู้ การเรียนรู้ ทัศนคติ
เพราะมองว่าลักษณะของบุคคลจะมีผลต่อการทำงาน
-สนใจความต้องการและความพึงพอใจของมนุษย์ในองค์การว่ามีผลต่อการทำงานใน
องค์การ
-สนใจพฤติกรรมกลุ่มในองค์การ ว่ามีผลต่อการทำงานในองค์การ

ทฤษฎีองค์การยุคคลาสสิก
.1.กลุ่มการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Sciencetific Management) แนวคิดสำคัญ
-เน้นการศึกษาองค์การในระดับการจัดการ
-เชื่อว่ามีวิธีการทำงานที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียว (One Best Way)
-เน้นสร้างแจงจูงใจด้วยค่าจ้างเป็นรายชิ้น (Piece Rate System)
-สามารถใช้ระบบเหตุผลในการทำงานได้ (Rational System Model)
-เน้นประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน (Maximized Efficiency)

1.2 กลุ่มหลักการการบริหาร (Principle of Administration ***ถ้าเป็นนักคิดจะเรียกว่า Administrative Theorists)
แนวคิดสำคัญคือ
-ให้ความสำคับกับการบริหารงานระดับบน (Macro Level )
-มองว่าการจัดโครงสร้างองค์การที่ดีจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
-เสนอแนวคิดเกี่ยวกับหน้าที่ของนักบริหาร (Function of Administration) มองว่าผู้บริหารจะต้องมีหน้าที่ที่ชัดเจน

2.3 สิ่งแวดล้อมทางการเมืองและสิ่งแวดล้อมภายนอกคืออะไร ต่างกันอย่างไร
สิ่งแวดล้อมทางการเมือง ถือเป็นสื่อกลางในการที่จะสร้างข้อเรียกร้องจากสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อให้ผู้บริหารองค์การสาธารณะที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาแสดงความรับผิดชอบ ประกอบด้วยสถาบันทางการเมืองต่างๆดังนี้
1.สาธารณชนโดยทั่วไป
2.ผู้รับบริการสาธารณะและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
3.สื่อมวลชน
4.ฝ่ายนิติบัญญัติ
5.ผู้บริหารระดับสูง
6.กระบวนการยุติธรรม

สิ่งแวดล้อมภายนอก ถือเป็นสภาพแวดล้อมทั่วๆไป ที่มีอิทธิพลต่อทุกๆองค์การในสังคม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
2.สภาพแวดล้อมทางสังคม
3.สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี
6.วิธีการศึกษาการตัดสินใจในองค์การ

วิธีการศึกษาการตัดสินใจในองค์การ คือ การที่จะเข้าใจถึงลักษณะของการตัดสินใจในระดับต่างๆ ขององค์การ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจลักษณะทั่วไปขององค์การ วิธีการในการตัดสินใจ รวมไปถึงรูปแบบในการศึกษาการตัดสินใจในองค์การ
รูปแบบของการศึกษาการตัดสินใจในองค์การแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.การศึกษาจากสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น หรือสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว
2.การศึกษาโดยพยายามสร้างรูปแบบของการตัดสินใจที่ควรจะเป็น
ระดับของการศึกษา สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ คือ
1.ระดับของการตัดสินใจโดยตัวของมันเอง
2.ระดับของผู้ทำการตัดสินใจ
3.ระดับของกระบวนการที่ใช้ในการตัดสินใจ

3.ให้นักศึกษาตอบทั้งข้อ ก. และ ข.
ก. อธิบายว่า “โครงสร้างขององค์การ” Organization Structure คืออะไร
โครงสร้างขององค์การเกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ การกำหนดวิธีการรายงานตามสายการบังคับบัญชาในระหว่างกลุ่มคน รวมไปถึงกลไกการประสานงานที่เป็นทางการ และวิธีการที่เกี่ยวข้องตามแผนที่ได้กำหนดและวางไว้ โดยสามารถจำแนกโครงสร้างขององค์การออกเป็น 3 ส่วนประกอบด้วยกันคือ

1.ความสลับซับซ้อนหรือความซับซ้อนขององค์การ เกิดจากการที่องค์การแต่ละองค์การมีการแบ่งแยกงานจำนวนมากออกเป็นกลุ่มๆ หลายๆ กลุ่มงาน โดยแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญแต่ละด้านของบุคลากร รวมทั้งจัดแบ่งความสลับซับซ้อนหรือความซับซ้อนขององค์การ เกิดจากการที่องค์การแต่ละองค์การมีการแบ่งแยกงานจำนวนมากออกเป็นกลุ่มๆ หลายๆ กลุ่มงาน โดยแบ่งแยกตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญแต่ละด้านของบุคลากร รวมทั้งจัดแบ่งลำดับชั้นของการบังคับบัญชาเป็นระดับต่างๆ อาจมีการแบ่งงานและบุคลากรไปในพื้นที่อื่นๆ ในลักษณะสาขาด้วย

2.ความเป็นทางการ จะพิจารณาจากการที่องค์การได้กำหนดกฎเกณฑ์ เพื่อวางระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นมาตรฐาน อันจะเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่เป้าหมายของแต่ละองค์การได้

3.การรวมอำนาจหรือการรวมศูนย์อำนาจ การรวมอำนาจในองค์การจะมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการกำหนดอำนาจในการตัดสินใจ หากการตัดสินใจทำโดยผู้บริหารระดับสูงและเป็นเรื่องสำคัญจะเห็นลักษณะของการรวมอำนาจในองค์การนั้น แต่หากมีการกระจายอำนาจในการตัดสินใจมายังผู้บริการระดับต่ำ จะเน้นลักษณะการกระจายอำนาจ

โครงสร้างขององค์การนั้นๆ
ข.โครงสร้างขององค์การมีความสำคัญต่อการบริหารอย่างไรบ้าง (ให้อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ)
โครงสร้างขององค์การหรือการจัดองค์การมีความสำคัญเป็นอย่างมากกับความสำเร็จของกิจการ หากมีการจัดองค์การที่ดีแล้ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมเป็นไปได้มาก การจัดองค์การอย่างเหมาะสมนั้น ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการคือ
1. ช่วยให้การบริหารงานเป็นไปด้วยความสะดวกและง่ายขึ้น
2. ช่วยแก้ปัญหางานที่คั่งค้าง ณ จุดใดโดยไม่จำเป็น
3. ช่วยแก้ปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน

2.2 เปรียบเทียบหลักการของ Hierarchy of Needs (A.H Maslow) กับ Motivator Factor (Herzberg)
เอ เอช มัสโล ได้ศึกษาถึงระดับของความต้องการของมนุษย์และแบ่งระดับของความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน คือ
1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs)
2.ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต (Safety Needs)
3.ความต้องการที่จะเข้าร่วมในสังคม (Social Needs)
4.ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในหน้าที่การงาน (Esteem Needs)
5.ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จในชีวิตตามอุดมการณ์ที่ตัวได้ตั้งไว้ (Self-realization Needs)

ความต้องการทั้ง 5 ขั้นดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์กัน และเกิดต่อเนื่องกันตลอดเวลาเมื่อความต้องการในขั้นตอนใดได้รับการบำบัดแล้ว มนุษย์ก็จะเกิดความต้องการในขั้นถัดไป และความต้องการในขั้นก่อนหน้านั้นก็จะลดน้อยลงไปตามลำดับปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ

 Motivator Factors หมายถึง ปัจจัยที่เมื่อพนักงานในองค์การได้รับการตอบสนองแล้ว จะสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน และเป็นผลทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ ปัจจัยจำพวกนี้ ได้แก่
- ความสำเร็จในหน้าที่การงาน
- ความยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน
- ลักษณะของงาน
- ความรับผิดชอบ
- ความก้าวหน้าในการงาน


6 ความคิดเห็น:

  1. เยี่ยมมมากครับ ขอบคุณมากๆ

    ตอบลบ
  2. อาหารสมอง

    ตอบลบ
  3. เป็นข้อกาหรือข้อเขียนค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เปลี่ยนเป็นข้อกา มาหลายเทอมแล้วจ้า สมัยนั้น70คนผ่าน2คนจ้า

      ลบ
    2. ภูมิภาคเป็นอัตนัยไม่ใช่หรอ

      ลบ